ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

การรักษาโรคของเม็ดเลือดแดง

การรักษาโรคของเม็ดเลือดแดง
โรคเม็ดเลือดแดงเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่ถูกถ่ายทอดมาจากทางกรรมพันธ์ทางฝั่งพ่อหรือทางฝั่งแม่แล้วแต่ว่าใครเป็นพาหะ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอาการผิดปกติ เช่นเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวหรือรูปเคียว ไม่เป็นเม็ดเต็ม ส่วนอาการที่เกิดกับคนที่เป็นโรคนี้จะเกิดในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย จะสามารถปรับสภาพร่างกายได้ดีกว่าคนที่ไม่เป็นโรค เช่น ในพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยเยอะ หรือบนภูเขาสูงๆ ซึ่งเมื่อไปทำการตรวจโรคจะเห็นอาการของเม็ดเลือดแดงผิดปกติผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคปประเภทอิเล็กตรอนที่ทำให้เห็นลักษณะของเม็ดเลือดแดงปกติที่อาศัยอยู่ร่วมกับเม็ดเลือดแดงที่เป็นรูปครึ่งเสี้ยว อาการของคนเป็นโรคท้ายสุดจะก่อให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องใช้การทานยารักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการส่งผ่านโรคนี้ไปสู่รุ่นลูก ควรจะทำการตรวจเลือดก่อนการแต่งงานเพื่อจะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หากต้องการจะมีบุตร

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ศึกษาความหมายของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

ศึกษาความหมายของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป
คำว่าไวรัสมาจากภาษาละติน หมายถึง สารที่เป็นพิษ ในสมัยโรมันยุคแรกๆ ได้มีการบันทึกว่าสารพิษบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้การส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 
ปี ค.ศ.1948 Holmes มีการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ให้ความหมายใหม่ว่า ไวรัส หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดโรคที่มีขนาดเล็ก สามารถผ่านเครื่องกรองแบคทีเรียได้และเจริญเฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
ปี ค.ศ. 1950 Bowden ให้ความหมายว่า ไวรัส หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคและมีการดำรงชีวิตแบบปรสิตที่แท้จริง มีขนาดเล็กมาก ส่วนมากมีขนาดเล็กกว่า 200 มิลลิไมครอน
ปี ค.ศ. 1959 Luria ให้ความหมายว่า ไวรัส หมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก เจริญและทวีจำนวนในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
ปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับไวรัสได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก รวมทั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป จึงได้ให้ความหมายของไวรัสที่สรุปได้ว่า 
ไวรัสหมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นอนุภาค มีกรดนิวคลีอิคเป็น DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่ง การสืบพันธุ์ภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยจะใช้สารประกอบต่างๆ ภายในเซลล์เพื่อการสังเคราะห์ไวรัสใหม่และถ่ายทอดไปสู่เซลล์อื่นๆได้

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้จักโปรโตซัวในดิน


รู้จักโปรโตซัวในดิน
         
           การศึกษาโปรโตซัวในดิน ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือสำคัญ โปรโตซัว เป็นจุลินทรีย์ในดินชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยถึงคุณสมบัติเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร โปรโตซัวจะพบมากในดินที่ชื้นและบริเวณผิวหน้าดิน เนื่องจากต้องการออกซิเจนในการหายใจ โปรโตซัวที่พบส่วนมากเป็นพวกที่มีแฟลกเจลลาและอมีบา ส่วนพวกที่มีซีเลียมีพบน้อยมากหรือไม่พบเลย

           จำนวนที่พบแตกต่างกันไปตามสภาพของดินแต่ละชนิด มีทั้งชนิดที่ใช้อินทรียสารและกินแบคทีเรียเป็นอาหาร มีผู้ให้ความเห็นว่าการกินแบคทีเรียของโปรโตซัวในดินก็เพื่อรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในดินตัวอย่างของสกุลโปรโตซัวที่พบในดิน ได้แก่ Allantion ,Bodo ,Cercomonas Entosiphon ,Amoeba ,Biomyxa ,Balantiophorus ,Colpidium,Calpoda,Oxytricha,Pleurotricha,Voticella เป็นต้น
         
           การศึกษาเกี่ยวกับโปรโตซัวชนิดต่างนั้นสามารถทำได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง แต่ถ้าต้องการศึกษาถึงรายละเอียดของโครงสร้างภายในอาจต้องอาศัยพลังของกล้องจุลทรรศน์ประเภทอิเลคตรอนในการทำงาน



วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้จักฟังไจในดิน ผ่านกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จักฟังไจในดิน ผ่านกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

             ฟังไจจุลินทรีย์ในดินที่พบมากพอๆกับแบคทีเรีย และต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ในการศึกษารูปร่าง รายละเอียดและการจำแนกชนิด ฟังไจที่พบในดินมีหลายร้อยชนิด จะอาศัยอยู่บริเวณผิวหน้าดิน เพราะเจริญได้ดีในที่มีออกซิเจน ฟังไจที่พบอาจอยู่ในรูปของสปอร์หรือไมซีเลียม ฟังไจที่พบในดินมีทั้ง เห็ด ราและยีสต์ ราได้แก่ Mucor,Aspergillus,Alternaria เป็นต้น บทบาทของฟังไจในดินจะช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินที่มีโมเลกุลซับซ้อน เช่น เซลลูโลส ลิกนิน เป็นต้น การย่อยสลายจะเกิดอย่างรวดเร็วเมื่อมีการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ผลของการย่อยสลายเป็นการเพิ่มสารประกอบคาร์บอนและไนโตรเจนในดินและช่วยให้ดินมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ฟังไจเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสังเคราะห์สารต่างๆได้ดี กล่าวคือ สามารถเปลี่ยนคาร์บอนที่เป็นส่วนประกอบของสารอินทรียสารในดินให้เป็นคาร์บอนในองค์ประกอบของเซลล์ได้ดีกว่าจุลินทรีย์อื่นๆ ฟังไจในดินมีทั้งที่เป็นปรสิต บางชนิดมีการดำรงชีวิตแบบผู้ล่าเหยื่อ (predator) เหยื่อส่วนมากเป็นโปรโตซัว

รู้จักสาหร่ายในดิน


รู้จักสาหร่ายในดิน 

            สาหร่าย เป็นจุลินทรีย์ในดินชนิดหนึ่ง ที่เราสามารถส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป สาหร่ายสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีพอสมควร จึงเจริญได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆทั้งในอากาศ น้ำและดิน สาหร่ายที่พบในดินที่สำคัญ ได้แก่ ประเภทแรกสาหร่ายสีเขียวสกุล Ankistodesmus,Chlamydomonas,Chlorella,Chlorococcum,Protococcus เป็นต้น ประเภทที่สองสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ได้แก่ สกุล nabaena , Calothrix, Chroococcus, Cylindrospermum เป็นต้น สาหร่ายในดินมีจำนวนน้อยกว่าแบคทีเรียและฟังไจ พบมากบริเวณผิวหน้าดินที่ชื้นเพราะต้องการน้ำและแสงสว่างในการสังเคราะห์แสง ส่วนดินชั้นล่างจะพบสาหร่ายน้อยมากและพบในระยะที่เป็นสปอร์หรือถ้าเป็นเซลล์ปกติจะไม่มีคลอโรฟิลล์ ในดินที่สมบูรณ์จะพบสาหร่ายน้อยมาก เพราะกิจกรรมทางด้านชีวเคมีของสาหร่ายถูกขัดขวางจากแบคทีเรียและฟังไจ เนื่องจากแบคทีเรียและฟังไจแบ่งเซลล์ได้รวดเร็วกว่า จึงแย่งสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ บางครั้งอาจขับสารพิษบางชนิดออกมาอีกด้วย ทำให้สาหร่ายเจริญได้ช้าหรือไม่เจริญ

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติและระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติและระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

            ตามปกติแล้วการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถาบันศึกษาวิจัย อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติตัวเดียวโดดๆนั้นไม่สามารถทำงานได้ จำเป็นต้องเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกันจนกลายเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุม ตรวจสอบดูแล หรือแม้กระทั่งบันทึกได้ เราเรียกทั้งหมดนี้ว่าระบบตรวจสอบอัตโนมัติ หน้าที่ของระบบนี้หลักๆแล้วก็คือเชื่อมโยงอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติตัวต่างๆเข้าด้วยกัน โดยมีตัวกลางคือระบบที่รองรับฐานข้อมูล และสามารถจัดการ หรือปรับแต่งการทำงานของอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติได้ทั้งหมด ยิ่งเราต้องการใช้งานอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติมากชิ้นเพียงใด ระบบที่เราจะต้องวางรองรับก็ต้องมีขนาดใหญ่และครอบคลุมมากเพียงนั้น โดยผู้ใช้งานจะสามารถควบคุมดูแล ปรับแต่ง และใช้งานได้มากเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าระบบที่วางไว้มีฟีเจอร์การใช้งานครบครันและยืดหยุ่นเพียงใด เป็นภาระของผู้ออกแบบระบบตรวจสอบอัตโนมัติท้าทายว่าจะสามารถออกแบบระบบตรวจสอบอัตโนมัติได้ยืดหยุ่นโดนใจลูกค้าหรือไม่

การใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ


การใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ

             ประโยชน์ที่เด่นชัดที่สุดของระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็คือการ "Monitor" หรือการเฝ้าดูบางสิ่งอย่างใกล้ชิดชนิดนาทีต่อนาที เพื่อจะได้สังเกตุเห็นการทำงานอย่างใกล้ชิดและรู้ได้ทันทีเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที การนำอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติไปประยุกต์ใช้งานในเชิงปฏิบัติจึงเน้นไปที่การตรวจสอบการทำงานของระบบที่ต้องการการเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องการให้เกิดความผิดพลาด ชนิดที่ว่าแม้แต่ผมเส้นเดียว ตัวอย่างเช่น นำมาใช้ตรวจสอบการทำงานของการเปลี่ยนแปลงหรือการทำปฏิกริยาของสารในห้องทดลอง นำมาใช้สังเกตระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของของเหลว นำมาใช้สังเกตการทำงานของระบบสายพานการผลิต ไปจนถึงการใช้ประโยชน์เพื่อการบันทึกภาพสำคัญต่างๆเก็บเป็น log ข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ด้วยความต่อเนื่องในการทำงาน และการแสดงรายละเอียดที่สามารถปรับได้จนถึงขีดสุด อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเปรียบเทียบความแตกต่างของของสองสิ่ง หรือความเปลี่ยนแปลงของของสิ่งเดียวกันในห้วงเวลาที่ต่างกัน

อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติคืออะไร



          ในสายงานการผลิตทางอุตสาหกรรม งานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หรือทางการแพทย์ ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยๆอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับทั้งกระบวนการผลิต หรือทำให้สินค้าหรือผลการวิจัยที่ออกมาผิดพลาดทั้งชิ้นเลยก็ได้ ผู้รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆก็ตาม ด้วยเหตุนี้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติจึงเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบว่าเจอข้อผิดพลาดตรงส่วนไหนบ้าง เพื่อจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติที่นิยมใช้กันก็คือระบบกล้องวงจรปิด หรือกล้องสังเกตการณ์ที่สามารถติดตามสังเกตุความเป็นไปได้หลายๆจุดพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการติดตามเหตุการณ์แบบ Real time และการสังเกตเปรียบเทียบระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเงินจ้าง QC หลายคนคอยตามตรวจสอบคุณภาพ ถ้าใช้ระบบนี้ QC เพียงคนเดียวก็เพียงพอแล้ว

รู้จักแบคทีเรียในดิน


รู้จักแบคทีเรียในดิน

             การศึกษาจุลชีววิทยาของดิน กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ถือว่ามีความสำคัญมาก เพื่อใช้ศึกษาชนิดของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ชนิดแรกที่เราจะไปส่องดูกันด้วยกล้องจุลทรรศน์ เรียกว่า แบคทีเรีย แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่พบมากที่สุดในดินทั้งชนิดและจำนวน มีทั้งพวกที่เป็น autotroph และ heterotroph แต่จะมีพวก heterotroph มากที่สุด แบคทีเรียเหล่านี้เจริญได้ดีทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจน หรือมีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย มีทั้งพวกที่สร้างสปอร์และไม่สร้างสปอร์ เป็นต้น แบคทีเรียในดินจะพบอยู่เป็นอิสระได้น้อยมาก เพราะเซลล์จะยึดเกาะกับอนุภาคของดินหรือฮิวมัสเอาไว้ แบคทีเรียบางชนิดยังสร้างสารเมือกมาช่วยยึดเกาะอีกด้วย ที่พบในดินจะมีชนิดและปริมาณแตกต่างกันไปตามอินทรียสารในดิน เช่น ในดินที่มีการเพาะปลูกพืชจะมีแบคทีเรียมากกว่าดินที่ไม่มีการเพาะปลูก แบคทีเรียที่พบในดินส่วนมากได้แก่ สกุล Agrobacterium ,Bacillus ,Clostridium ,Flavobacterium ,Pseudomonas,Sarcina และ Xanthomonas

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

การใช้งานด้านการระบุตัวอาชญากร

การใช้งานด้านการระบุตัวอาชญากร

            การใช้งานระบบตรวจสอบอัตโนมัติเพื่อตรวจลายนิ้วมือนั้นมีความสำคัญกับองค์กรตำรวจในการใช้งานด้านการระบุตัวอาชญากร เนื่องจากเวลามีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นเช่นมีการฆาตกรรม มีการปล้นร้านทอง หรือแม้กระทั่งมีการขโมยรถ ทางตำรวจต้องเก็บลายนิ้วมือในสถานที่เกิดเหตุเพื่อเอาไปตรวจสอบหาผู้ต้องสงสัยในคดีที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เมื่อได้ลายนิ้วมือในที่เกิดเหตุแล้วนั้นทางตำรวจก็จะเอาไปตรวจสอบขั้นต้นกับลายนิ้วมืออาชญากรที่ทางตำรวจได้เก็บรวบรวมเอาไว้ในฐานข้อมูลของตำรวจ และนอกจากนั้นยังเป็นแหล่งข้อมูลให้กับองค์กรหรือบริษัทเอกชนที่ได้ยื่นเรื่องมาขอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำผิดกฏหมายของผู้ที่มายื่นสมัครงานกับองค์กรหรือบริษัทเอกชนเพื่อที่จะเป็นพนักงานของบริษัท ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลขั้นต้นในการคัดเลือกบุคคลที่มาสมัครงานเบื้องต้น ดีกว่าไม่มีการสืบประวัติผู้สมัครงานปล่อยให้บุคคลที่มีประวัติอาชญากรเข้ามาทำงานในบริษัท ซึ่งจะนำพาความเดือดร้อนมาให้บริษัทและเพื่อนร่วมงานในองค์กรได้

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้จักไวรัสในดิน

รู้จักไวรัสในดิน 

                 คุณสามารถศึกษาไวรัสในดิน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ไวรัสที่พบในดินเป็นไวรัสที่ทำลายแบคทีเรียมากกว่าไวรัสของพืชและสัตว์ ซึ่งเรียกว่า bacteriophage บทบาทของไวรัสในดินยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเป็นเช่นเดียวกับโปรโตซัว โดยช่วยกระตุ้นกิจกรรมของแบคทีเรีย เพราะ bacteriophage ทำลายแบคทีเรียเป็นผลให้การย่อยสลายอินทรียสารของแบคทีเรียเป็นไปอย่างรวดเร็ว แบคทีเรียที่ถูกทำลายโดยไวรัสได้ดี ได้แก่ Rhizobium ,Azotobacter ,Bacillus ,Clostridium ,Enterobacter ,Arthrobacter เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบไวรัสทำลายสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เรียกว่า Cyanophage สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ถูกทำลายได้ดี เช่น Anabaena,Anacystis,Cylindrospermum,Microcystis เป็นต้น ไวรัสยังสามารถเป็นปรสิตในฟังไจได้ เช่นในฟังไจสกุล Aspergillus,Boletus,Cepharosporium,Mucor,Penicillium เป็นต้น หากท่านสนใจหาซื้อ กล้องจุลทรรศน์ และกล้องไมโครสโคปคุณภาพสำหรับงานวิจัย ท่านสามารถหาเลือกซื้อได้จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตคุณภาพ

ประวัติกล้องจุลทรรศน์

ประวัติกล้องจุลทรรศน์

              นับจากอดีตนักวิทยาศาสตร์ในประเทศต่างๆ ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือ ที่เรียกกันว่า กล้องไมโครสโคป ในการคิดค้น ค้นพบโลกอีกด้านหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา แบคทีเรีย เชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีขนาดเล็กจนตาเปล่าของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ เพราะเชื้อต่างๆ เหล่านั้นมีขนาดเล็กมากถึงขนาดไมครอน สายตาของมนุษย์นั้นสามารถมองเห็นสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุดไม่เกิน 1 มิลลิเมตรและหากวัตถุมีขนาดเล็กกว่านั้นสายตามนุษย์เราก็จะไม่สามารถมองเห็นได้ นอกจากนั้นการพัฒนากล้องจุลทรรศน์มาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้นักวิทยาศาสตร์เองนั้นสามารถมองเห็นกลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆได้อย่างถูกต้องกว่าการคาดเดาไปเอง กล้องจุลทรรศน์ริเริ่มประดิษฐ์จากการใช้เลนส์นูนเพียงอันเดียวของนักวิทยาศาสตร์ในการมองวัตถุที่มีขนาดเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็น เพื่อให้วัตถุนั้นขนาดใหญ่ขึ้น ในช่วงแรกๆเรียกเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นเรียกว่า กล้องจุลทรรศน์เลนส์เดียวหรือเรียกสั้นๆว่าแว่นขยายนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

องค์ประกอบของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

            ขึ้นชื่อว่าเป็นระบบแล้ว คอนเซปต์ก็คือจะต้องมีส่วนย่อยๆหลายๆส่วนทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กัน ซึ่งอุปกรณ์ส่วนย่อยๆของระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็คือ อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติชิ้นต่างๆนั่นเอง โดยมีส่วนเชื่อมโยงคือระบบจัดการที่สร้างมารองรับโดยเฉพาะ แต่ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว ระบบตรวจสอบอัตโนมัติยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่จำเป็นอีกมาก เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากระบบจัดการอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติต่อให้เจ๋ง หรือซับซ้อน ระดับเทพเจ้า ก็จะไร้ประโยชน์ทันทีเมื่อไม่มีฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพพอไว้ให้รัน นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังเป็นตัวประมวลรวบรวมข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติแต่ละตัวด้วย อย่างต่อมาคืออุปกรณ์สำหรับการวิเคราะห์และหรือตรวจจับข้อมูลต่างๆ เช่นอุปกรณ์พวก I/O Unit หรือ Sequencer ที่สามารถตรวจจับและบันทึกข้อมูลได้แบบ real time และสามารถจัดทำเป็นข้อมูลทางสถิติได้เป็นอย่างดีด้วย เหมาะอย่างยิ่งกับการบันทึกสถิติเพื่อการศึกษาวิจัย

ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติ

ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติ

              อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติเองก็เหมือนอุปกรณ์ใช้งานอื่นๆ ที่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ต่างกันไปในแต่ละรุ่น ซึ่งความหลากหลายนี้ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไปอีกด้วย โดยเราอาจวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ และระบบตรวจสอบอัตโนมัติได้ในหลายๆมิติ สิ่งแรกที่ใช้วัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติได้ก็คือ ความหลากหลายของฟีเจอร์การใช้งาน ระบบตรวจสอบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพควรจะต้องมีฟีเจอร์ที่หลากหลายเพื่อความสะดวกและความยืดหยุ่นในการใช้งาน ทั้งงานตรวจสอบสภาพ งานเฝ้าสังเกต และงานเปรียบเทียบ ระบบซอฟท์แวร์ทีดีจะมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้หลากหลาย ด้านต่อมาคือเรื่องความแม่นยำของการทำงาน ระบบดรวจสอบอัตโนมัติที่ดีควรจะเก็บผลและแปลผลออกมาอย่างตรงไปตรงมาและแม่นยำมากที่สุด ถ้าอุปกรณ์ส่วนตรวจจับทำงานได้ดีแต่ระบบการแปลผลไม่แม่นยำ ผลที่ออกมาก็ย่อมผิดพลาด และด้านสุดท้ายก็คือด้านความรวดเร็ว กิจกรรมบางอย่างเวลาเพียงวินาทีเดียวเป็นเรื่องสำคัญมากการตรวจสอบและแปลผลแบบวินาทีต่อวินาทีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Bright field Microscopes

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Bright field Microscopes

          กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป อุปกรณ์สำหรับใช้มองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่ตาเปล่าจะมองเห็น กล้องจุลทรรศน์ชนิด Bright field Microscopes จัดอยู่ในประเภทกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical Microscopes) ชนิดหนึ่ง หลักการทำงาน อาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์เรื่องการดูดกลืนแสงของวัตถุ (Absorbance) ที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการ Contrast ของภาพช่วยให้สามารถวิเคราะห์และแยกส่วนประกอบของวัตถุได้ โดย condenser lens จะรวบรวมลำแสงจากแหล่งกำเนิดแสง(Light Source) ที่ผลิตลำแสงที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ ไปตกยังวัตถุที่วางอยู่บน stage ส่วน objective lens รับแสงที่ผ่านออกจากวัตถุขยายเป็นภาพส่งต่อไปที่ ocular lens จะช่วยขยายภาพสุดท้ายให้มีขนาดใหญ่ตามกำลังขยายของ lens ไปตกบนจอ หรือ retina ของตาคน สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ควรใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ เนื่องจากเหมาะสำหรับใช้ส่องมองวัตถุที่มีลักษณะบางหรือโปร่งแสง เช่น เนื้อเยื่อบางๆ อย่างเนื้อเยื่อพืช หรือเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นต้น

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Dark field Microscopes

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Dark field Microscopes

กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ชนิด Dark field Microscopes จัดอยู่ในประเภทกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical Microscopes) อีกชนิดหนึ่ง กล้องชนิดนี้อาศัยหลักการกระเจิงของแสง ที่เรียกว่า Scattering แบบเลี้ยวเบนเข้าหาวัตถุ เมื่อวัตถุได้รับแสงอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดความแตกต่างกันของภาพวัตถุ (ภาพสว่างชัดเจน) กับภาพของ Background (ภาพทึบสีดำ) เรามาดูหลักการทำงานของกล้องไมโครสโคป ชนิด Dark field Microscopes กัน เริ่มจากต้องมีแหล่งกำเนิดแสง เพื่อให้กำเนิดแสง และถูกปิดกั้นบริเวณตรงกลาง โดยให้แสงเพียงบริเวณรอบนอกที่ผ่านเข้าไปยัง Condenser Lens ได้ จึงเกิดการเลี้ยวเบนของแสงเข้าไปยังวัตถุ มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ วัตถุได้รับแสงอย่างเต็มที่ ภาพวัตถุที่ได้จึงสว่างชัดเจนดังกล่าว วัตถุที่ใสไม่มีสีหรือย้อมสีติดยาก การใช้กล้องจุลทรรศน์แบบอื่นๆ อาจจะไม่เหมาะสม จึงควรใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ อย่างเช่น พวกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กหรือพวกเนื้อเยื่อบางชนิด เป็นต้น 

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Polarized Microscopes

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Polarized  Microscopes

          หากคุณต้องการกล้องจุลทรรศน์สำหรับงานวิจัยและพัฒนา หรืองานด้านควบคุมคุณภาพต่างๆ ทั้งองค์กรรัฐหรือเอกชน เชิญเข้าไปเลือกดูกล้องจุลทรรศน์ประเภทต่างๆ ได้ทางเว็บไซต์ ซึ่งมีกล้องทุกชนิดให้คุณได้ลองศึกษาและเลือกให้เหมาะสมกับงานวิจัย กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ประเภทใช้แสง(Optical Microscopes)ที่จะแนะนำคือ...ชนิด Polarized Microscopes กล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้เหมาะกับงานที่ใช้สำหรับมองวัตถุประเภท Biological อย่างเช่น กล้ามเนื้อ หรือวัตถุประเภทแร่ธาตุต่างๆ เช่น แร่ทองคำ เป็นต้น เป็นการศึกษาเพื่อดูลักษณะการจัดเรียงตัวของอนุภาคภายในวัตถุว่าเป็นแบบใด เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำไปวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างภายในของวัตถุนั้นๆ หลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ ใช้หลักการ Polarize ของแสง วิธีการดูว่าวัตถุเป็น Birefringence หรือไม่ สามารถดูได้โดยการทดสอบการเป็น Polarize โดยการปรับหมุนที่ Circular Rotating Stage นับว่าเป็นวิธีการที่ทำได้สะดวกมากพอสมคว

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Fluorescence microscopes

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Fluorescence microscopes

กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ประเภทแบบใช้แสง (Optical Microscopes)ที่ต้องการแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักอีกชนิด ก็คือ ชนิด Fluorescence microscopes เป็นกล้องที่มีการนำไปใช้ในห้องวิจัยหรือห้องแล็ปตามโรงพยาบาลหลักการทำงานของกล้องชนิดนี้ อาศัยแหล่งกำเนิดแสงที่มีพลังงานสูง เช่น แสง UV ส่องผ่านระบบเลนส์เพื่อรวบรวมแสงให้ส่องผ่านไปยังวัตถุหรือตัวอย่าง ซึ่งวัตถุหรือตัวอย่างนั้นต้องมีคุณสมบัติ สามารถเรืองแสงหรือเปล่งแสงได้ เมื่อได้รับพลังงานแสง วัตถุจะดูดกลืนแสงจนพลังงานเต็ม วัตถุจะปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นแสงที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ที่เรียกว่า Visible Light เราจึงสามารถมองเห็นวัตถุได้ที่กล้องไมโครสโคปชนิดนี้ตัวอย่างที่เหมาะกับกล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ คือ จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถย้อมสีที่มีปฏิกิริยากับแสง UV แล้วเกิดการเรืองแสงได้ กล้องจุลทรรศน์ถือเป็นเครื่องมือที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยีและทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ หากต้องการกล้องจุลทรรศน์ กล้องไมโครสโคป เชิญเลือกชมและสั่งซื้อสินค้าได้ทางเว็บไซต์ของผู้จัดจำหน่ายคุณภาพ

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Confocal Microscope

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Confocal Microscope

          กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป มีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ก่อกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ๆมากมาย มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับโรงเรียนที่ใช้กล้องจุลทรรศน์แบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ไปจนถึงงานวิจัยในมหาวิทยาลัย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ที่ต้องการกล้องจุลทรรศน์ที่มีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้นหากท่านต้องการกล้องจุลทรรศน์ที่สามารถทำการวิเคราะห์ภาพออกมาเป็น 3 มิติได้ ท่านต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิด Confocal Microscope หรือเรียกว่า Laser Scanning Confocal Microscopy (LSCM) ซึ่งเป็นกล้องประเภทแบบใช้แสง (Optical Microscopes) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้โปรแกรมประมวลผลภาพผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่ใช้กับเซลล์เนื้อเยื่อที่มีความหนา การ Analyze ภาพออกมาเป็นภาพ 3D จะเริ่มจากการถ่ายภาพแบบสองมิติ 2D อาศัย Scanning Mirrors เป็นตัวช่วยในการถ่ายภาพในมุมมองต่างๆ เป็น Slide Sample ไปในทิศทางต่างๆ จนเป็นพื้นระนาบขนาดหนึ่ง แล้วจึงใช้โปรแกรมจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการ Analyze ภาพออกมาเป็นภาพ 3D ดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นงานแบบไหน

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการใช้

เทคนิคการใช้

          การใช้กล้องจุลทรรศน์เริ่มมีการเรียนการสอนกันตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาการทางด้านชีววิทยามากขึ้น เพราะในการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ นั้นต้องใช้ทั้งกล้อจุลทรรศน์หรือที่เรียกว่ากล้องไมโครสโคป ซึ่งมีข้อใช้งานแตกต่างกันไม่มากนัก กล้องจุลทรรศน์นั้นมีวิธีการใช้งานที่ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างไม่กดดันเด็กนักเรียนนัก เพราะเด็กนักเรียนจะกล้วว่าหากใช้ไม่เป็นจะทำให้กล้องพังและจะถูกครูผู้สอนลงโทษ ดังนั้นทางครูผู้สอนสามารถพัฒนาเทคนิคง่ายๆในการใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อดึงดูดให้นักเรียนใช้กล้องเป็นโดยการวางแผ่นสไลด์ที่จะทำการส่องวางอยู่กลางแสง แล้วค่อยๆหมุนเลนส์กำลังขยายสูงสุด ให้เลนส์ใก้แผ่นสไลด์มากที่สุด จากนั้นก็เปลี่ยนกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ตำแหน่งเดิมแล้วปรับภาพให้คมชัดจนสามารถเห็นภาพของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ บนแผ่นสไลด์ได้ชัดเจน เพราะสายตาของแต่ละคนไม่เท่ากันจึงต้องมีการปรับกล้องจุลทรรศน์ตลอดเวลาที่่มีการเปลี่ยนผู้ใช้

ขยายขนาดสิ่งมีชีวิตเล็กๆ

ขยายขนาดสิ่งมีชีวิตเล็กๆ

            เพราะเนื่องจากตาเปล่าของมนุษย์นั้นไม่สามารถมองเห็นรูปร่างของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ได้จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่มีกำลังขยายมากกว่าตาเปล่าหลายสิบเท่าเพื่อขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางตาเพื่อที่จะเห็นรูปร่างของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ นั้นทั้งเชื้อรา และเชื้อเเบคทีเรีย ได้อย่างชัดเจน และสำหรับนักวิทยาศาสตร์นั้นใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อหาข้อมูลหลักฐานทางชีววิทยาถึงโครงสร้างเซลล์ให้ละเอียดของเชื้อราและแบคทีเรีย การมีชีวิตอยู่ และการทำลาย ทั้งนี้เพื่อจะมาทำยารักษาโรคในกรณีติดเชื้อโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ รวมทั้งการศึกษาทางด้านเม็ดเลือด ถึงสภาพเซลล์ที่สมบูรณ์และสภาพเซลล์ที่ผิดปกติ เพื่อที่จะทำการศึกษาต่อไปว่าทำอย่างไรกับผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดที่ไม่สมบูรณ์ หน้าที่ของเม็ดเลือดเเดงเป็นอย่างไร เม็ดเลือดขาวเป็นอย่างไร เป็นต้น เพื่อที่จะได้รู้ว่าร่างกายเราประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีหน้าที่การทำงานกันอย่างไร 

ประเภทของกล้องจุลทรรศน์

ประเภทของกล้องจุลทรรศน์

            ประเภทของกล้องจุลทรรศน์สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ซึ่งเป็นกล้องที่ได้รับการพัฒนาจากอดีตอย่างต่อเนื่อง มีปัจจุบันสามารถทำให้มีกำลังขยายได้ถึงสองพันเท่า และเป็นกล้องที่มีราคาถูก ซึ่งสามารถแบ่งลึกออกไปอีกเป็นแบบใช้แสงแบบธรรมดา ประกอบไปด้วยเลนส์สองชนิดคือเลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตาและใช้แสงแบบสเตอริโอ เเป็นกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ที่ทำให้เห็นภาพสามมิติทำให้เห็นความลึกของตัวแบคทีเรีย เชื้อรา หรือแม้กระทั่งเม็ดเลือด ทำให้เราเห็นภาพได้อย่างเช่นชัดมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนอีกประเภทหนึ่งก็คือกล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นแบบใช้อิเล็กตรอนความถี่สูงในการทำงานแทนแสง แต่จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าและสามารถขยายได้ถึงห้าแสนเท่า ทำให้ปรากฏภาพเสมือนจริงขึ้น ซึ่งมีราคาสูงกว่ากล้องแบบใช้แสงธรรมดา ซึ่งก็สามารถย่อยเป็นสองเเบบย่อยก็คือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด

ส่วนประกอบของกล้อง

ส่วนประกอบของกล้อง

            เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์ประกอบไปด้วยลำกล้องซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างเลนส์สองชนิดคือเลนส์ใกล้ตาและเลนส์ใกล้วัตถุ และหน้าที่คือป้องกันไม่ให้มีแสงจากภายนอกเข้ามารบกวน ส่วนประกอบอีกอันก็คือแขนของตัวกล้องคือส่วนหน้าที่ยึดระหว่างส่วนลำกล้องกับตัวฐาน ซึ่งมีไว้เพื่อในการยกกล้องเคลื่อนย้ายไปมาไม่ให้หลุดมือ เพราะหากจับที่ส่วนอื่นของกล้องก็จะทำให้กล้องหลุดล่วงได้เพราะส่วนอื่นๆ ไม่ได้ประกอบมาเพื่อไว้จับหรือเคลื่อนย้ายจึงไม่ค่อยแข็งแรง แท่นวางวัตถุมีไว้เพื่อใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษาและที่แท่นวางวัตถุนั้นจะมีที่หนีบแผ่นสไลด์สองด้านเพื่อไม่ให้แผ่นสไลด์เลื่อนหรือเคลื่อนที่ ส่วนฐานของตัวกล้องมีไว้เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวกล้องไม่ว่าจะเป็นเลนส์กล้อง ลำกล้องหรือที่วางแผ่นสไลด์จึงต้องทำให้แข็งแรง เลนส์รวมแสงทำหน้าที่รวมแสงส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา ปุ่มปรับภาพเพื่อเปลี่ยนระยะโฟกัสเพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจน

การทำความสะอาดเลนส์

การทำความสะอาดเลนส์

             เนื่องจากว่าหากมีการส่องแผ่นสไลด์ด้วยกล้องจุลทรรศน์โอกาสที่เลนส์กล้องจุลทรรศน์จะสัมผัสกับตัวอย่างบนแผ่นสไลด์ก็มีมาก ดังนั้นจึงต้องมีการทำความสะอาดเลนส์ทุกครั้งหลังจากที่มีการใช้งานเพื่อไม่ให้ไปติดหรือสัมผัสกับตัวอย่างของแผ่นสไลด์ต่อๆไป เพราะว่าเป่าหรือปัดเศษผงด้วยเศษวัสดุอื่นๆ อาจจะก่อให้เกิดรอยขูดขีดบนพื้นผิวเลนส์และเมื่อเลนส์กล้องเสียหายจนต้องมีการเปลี่ยนเลนส์กล้องอาจจะทำให้เสียเงินค่าเปลี่ยนเป็นจำนวนที่ค่อนข้างแพง ดังนั้นในการปัดเศษฝุ่นผงควรใช้ลูกยางบีบหรือปัดด้วยแปรงขนอ่อนๆ ถ้ายังไม่สามารถเอาออกได้ให้ใช้ผ้าขาวบางหรืออาจจะใช้สำลีหรือกระดาษเช็ดเลนส์พันรอบปลายคีบที่สะอาดนุ่มชุบน้ำเช็ดเบาๆ หรือไม่ก็ใช้น้ำยาเช็ดเลนส์ทำความสะอาดทั้งเลนส์ใกล้ตาและเลนส์ใกล้วัตถุ โดยหมุนจากจุดศูนย์กลางและหมุนทำรัศมีวงกว้างไปเรื่อยๆ จนรอบเลนส์แต่ต้องระวังน้ำยานั้นทำลายสีของตัวกล้องและละลายกาวที่ช้ในการเชื่อมเลนส์ของกล้องได้

โปรแกรมร้านอาหารคืออะไร

โปรแกรมร้านอาหารคืออะไร

            ปัจจุบันนี้ยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แม้แต่ในวงการบริหารจัดการเองก็ยังเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักเพื่อช่วยเหลือในการวางแผนการทำงานและการบริหารจัดการรายวันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่ได้จำกัดการใช้อยู่เพียงแค่ในวงธุรกิจพันล้าน หรือกิจการเกี่ยวกับไอทีเท่านั้น ซึ่งระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการกิจการแต่ละประเภทก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวและการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป โปรแกรมร้านอาหารจึงมีลักษณะเด่นและวิธีการทำงานที่แตกต่างจากโปรแกรมบริหารจัดการรูปแบบอื่นๆ โปรแกรมร้านอาหารที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีจะช่วยอำนวยความสะดวกกับการดำเนินกิจการร้านอาหารได้มากอีกทั้งยังช่วยให้การประสานงานกันระหว่างฝ่ายต้อนรับลูกค้ากับครัวเป็นไปอย่างลื่นไหลมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร้านอาหารโดยตรง เพราะยิ่งพนักงานร้านทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้ามากเพียงนั้น

ฟังก์ชั่นรองรับการทำงานหลายภาษา

ฟังก์ชั่นรองรับการทำงานหลายภาษา

              ระบบจัดการร้านอาหาร หรือโปรแกรมร้านอาหารที่ดีควรจะต้องมีฟังก์ชั่นที่รองรับการทำงานแบบหลายภาษา โดยควรจะต้องรองรับภาษาใดบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับ 3 เรื่องคือ 1. เชื้อชาติของสมาชิกร้านระดับบริหารจัดการ (เจ้าของร้าน ผู้จัดการสาขา และผู้จัดการทั่วไป) ซึ่งควรจะรวมไปถึงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทางร้านจ้างไว้ เช่น ฝ่ายบัญชี หรือเจ้าหน้าที่เช็คคลังสินค้า 2. เชื้อชาติของพนักงงานร้านค้าโดยส่วนรวม ที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือพนักงานหน้าร้าน และครัว (กรณีที่ใช้พ่อครัวต่างชาติ) 3. กลุ่มลูกค้าของร้าน โดยส่วนใหญ่แล้วโปรแกรมร้านอาหารจะรองรับประมาณ 4 ภาษาดังนี้ ภาษาแรกคือภาษาที่พนักงานร้านใช้ติดต่อสื่อสารกัน ภาษาต่อมาคือภาษาสำหรับติดต่อกับครัว (ขึ้นอยู่กับประเภทร้าน เช่นร้านอาหารจีนก็เป็นภาษาจีน)ภาษาต่อมาคือภาษาที่เจ้าของร้าน หรือผู้จัดการร้านใช้ เพื่อสะดวกกับการติดตามและบริหารจัดการร้าน และภาษาสุดท้ายคือภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลสำหรับรองรับลูกค้าเป็นหลัก จะเห็นได้ว่าโปรแกรมร้านอาหารที่มีฟังก์ชั่นภาษาที่หลากหลายจะยิ่งมีความยืดหยุ่นในการทำงานสูง

ฟังก์ชั่นฐานข้อมูลร้านอาหาร

ฟังก์ชั่นฐานข้อมูลร้านอาหาร

             ฟังก์ชั่นติดต่อและจัดการกับฐานข้อมูลร้านอาหารนั้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานที่โปรแกรมร้านอาหารจะต้องมี ระบบฐานข้อมูลสำหรับดำเนินกิจการร้านอาหารอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆคือ ฐานข้อมูลรายการอาหาร ฐานข้อมูลคลังสินค้า ส่วนของฐานข้อมูลรายการอาหารนั้นฟังก์ชั่นที่ควรจะมีก็คือระบบรับข้อมูลออร์เดอร์จากลูกค้าและส่งไปยังครัวโดยตรง ระบบนี้จะช่วยย่นเวลาในการทำงานลงได้มากพอดู และลดความผิดพลาดจากการใช้ลายมือบันทึกได้อีกด้วย ทั้งสองสิ่งนี้ล้วนส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าโดยตรงอย่างไม่ต้องสงสัย ส่วนของฐานข้อมูลคลังสินค้านั้นเป็นฐานข้อมูลที่เอาไว้ใช้คิดคำนวณและบริหารจัดการการใช้และการจัดซื้อเพิ่มเติมสินค้าใช้แล้วหมดไปต่างๆ เช่น พวกวัตถุดิบและเครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดความสูญเปล่าในทุกๆการสั่งซื้อและการใช้งาน โปรแกรมร้านอาหารที่ดีนั้นควรจะต้องมีฟังก์ชั่นส่งเสริมหรือสนับสนุนการทำงานต่างๆที่มากเพียงพอ เช่น สามารถเรียกดูหรือแก้ไขได้ง่าย มีระบบบันทึกการเปลี่ยนแปลง หรือจัดทำเป็นรายงานได้ เป็นต้น

ฟังก์ชั่นรองรับการทำงานแบบเครือข่าย

ฟังก์ชั่นรองรับการทำงานแบบเครือข่าย

              ร้านอาหารขนาดใหญ่ที่มีครัวหลายๆห้อง หรือร้านที่มีหลายๆสาขา การบริหารจัดการกิจการภายในองค์กรถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากมีจุดที่อาจเกิดความผิดพลาดหรือถูกละเลยได้หลายจุด ซึ่งจุดผิดพลาดเล็กๆน้อยๆอาจนำมาซึ่งความเสียหายขนาดใหญ่ได้ การสื่อสารภายในองค์กรจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อให้การทำงานประสานกันภายในองค์กรสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฟังก์ชั่นรองรับการทำงานแบบเครือข่ายของโปรแกรมร้านอาหารมีหลายรูปแบบตามการออกแบบของนักพัฒนาโปรแกรม ที่มักจะออกแบบให้สอดคล้องกับการใช้งานของร้านอาหารที่เป็นลูกค้า มีตั้งแต่แบบที่เป็น Stand alone (เครื่องเดียวใช้ทั้งร้าน), LAN (เครือข่ายหลายเครื่องในร้าน เช่น ใช้งานร่วมกับ PDA , WAN หรือ Internet เพื่อติดต่อกับร้านสาขา และสำนักงานใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งมีฟังก์ชั่นการทำงานแบบเครือข่ายที่ใช้งานได้กว้างขวางเพียงใด ราคาของโปรแกรมร้านอาหารก็จะยิ่งแพงมากขึ้นเพียงเท่านั้น แต่สำหรับร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้

ฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวก

ฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวก

              แม้ว่าในความคิดของหลายๆคนความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น และภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นจะเป็นเรื่องรองของโปรแกรมร้านอาหารเมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรม แต่ก็ใช่ว่าฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกเหล่านี้จะเป็นเรื่องไร้สาระไปซะทั้งหมด จุดที่เป็นประโยชน์สำคัญมากของฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกก็คือประโยชน์จากการที่ผู้ที่มีหน้าที่บริหารจัดการสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้นซึ่งนั่นหมายความวว่ามีข้อจำกัดน้อยลง ทั้งข้อจำกัดทางเวลา สถานที่ และ ทางเทคนิก ฟังก์ชั่นอำนวยความสะดวกของโปรแกรมร้านอาหารที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุับันนี้คือฟังก์ชั่นควบคุมการทำงาน หรือเรียกดูข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารประเภทอื่นๆ เช่น Iphone หรือ Ipad สิ่งนี้ช่วยให้ผู้จัดการร้าน หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการ สามารถทำงานได้แม้ไม่ได้อยู่ที่ร้าน ส่งผลให้สามารถดูแลจัดการเรื่องเร่งด่วนต่างๆได้อย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น แม้จะอยู่คนละฝั่งของมุมโลกก็ตาม

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของกล้องจุลทรรศน์

ความเป็นมาของกล้องจุลทรรศน์

           ในสมัยก่อนนั้นนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายนั้นต้องทำงานกับทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลกใบนี้ เพื่อตรวจสอบค้นหาความจริงกันสิ่งที่เกิดขึ้นในรอบตัวเรา รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตนั้น ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของนักวิทยาศาสตร์ที่จะต้องใช้หลักการและเหตุผลหลายๆอย่างเพื่อให้ได้ข้อสรุปของการวิเคราะห์ผลออกมาซึ่งก็มีทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้และการมองเห็นหรือไม่เห็น ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทุกคนต้องเรียนรู้และไขข้อข้องใจทั้งหม ในโลกนี้มีอยู่หลายสิ่งหลายอย่างที่เรามองไม่เป็น จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์อย่าง กาลิเลโอ นั้นได้สร้างแว่นขยายขึ้นมา เพื่อให้มองเห็นสิ่งที่เล็กนั้นใหญ่ขึ้นมาได้ แต่แค่นั้นยังไม่พอ แว่นขยายนั้นไม่สามารถที่จะขยายสิ่งเล็กที่สุดให้เรามองเห็นได้ จึงได้มีการคิดค้นประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ขึ้นมาเพื่อให้มองเห็นสิ่งที่เล็กที่สุดได้
เช่น เซลล์ต่างๆในร่างกาย ในพื่ช หรือในน้ำ เพราะกล้องจุลทรรศน์นี้จะสร้างเพื่อให้ลำกล้องนั้นบดบังแสงได้และเห็นเซลล์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

           จากการคิดค้นประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์นี้จากเดิมที่เป็นเพียงแว่นขยาย และแว่นตาที่ขยายภาพให้เห็นได้ชัดมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการคิดค้นกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงขึ้นมาก่อนเป็นอันดับแรก กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงนี้ใช้สำหรับการส่องหาเชื้อจุลินทรีย์ที่มิได้มีการย้อมสีและมีพื้นหลังเป็นสีขาว และสีดำ รวมถึงจุลินทรีย์ที่ย้อมด้วยสารเรืองแสง เพื่อให้มองเห็นเวลาที่เชื้อจุลินทรีย์มีการกระทบกับแสงได้ชัดขึ้น ซึ้่งในตัวกล้องจุลินทรีย์นั้นมีส่วนประกอบหลายๆอย่าง อย่างเช่น ฐานแขน ลำกล้อง ตัวเลนส์รวมแสง ไดอะเฟรม ปุ่มปรับรับภาพระเอียด ปุ่มปรับรับภาพหยาบ เพื่อทำให้ผู้ใช้ได้มองเห็นได้อย่างชัดเจนมากที่สุด สำหรับกลุ่มผู้ที่ใช้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงนั้นก็จะมีอยู่ทั่วไปตามโรงเรียน ศูนย์วิจัย โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการทดสอบและให้ความรู้แก่นักเรียนในวิชาวิทยาศาสตร์ หรือในมหาวิทยาลัยที่ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าศึกษาวิจัยและวิเคราะห์เพื่อหาความรู้มาเป็นแนวทางในการเรียนการสอนให้จบหลักสูตรดังกล่าวได้ 

การบำรุงรักษากล้องจุลทรรศน์

การบำรุงรักษากล้องจุลทรรศน์

          การเก็บบำรุงรักษากล้องจุลทรรศน์นั้นค่อนข้างพิถีพิถันกันซักหน่อย เนื่องจากกล้องนี้มีราคาที่ค่อนข้างแพงและอะไหล่ หาได้ยาก จึงจำเป็นต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของตัวกล้อง และตัวเลนส์ ควรใช้ผ้าสะอาดเช็ดตัวเลนส์เบาๆและเช็ดตัวเครื่องให้สะอาดพร้อมใช้งานได้อยู่เสมอ และเมื่อใช้งานเสร็จทุกครั้งควรปรับปุ่มฟักช์ชั่นต่างๆ ที่อยู่ในตัวเครื่องให้พอดี ควรถอดปลั๊กไฟทุกครั้ง เพราะกล้องจุลทรรศน์นั้นจะมีหลอดไฟเพื่อให้แสงสว่างในการมองเห็นได้ เมื่อทำความสะอาดเช็ดให้เรียบร้อยแล้ว ควรที่จะผึ่งให้แห้งและเป่าลมให้มั่นใจเสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดความชื้น เพราะความชื้นในตัวกล้องอาจทำให้เลนส์เสียหายหรือเกิดคราบขึ้นมาได้เช่นกัน สำหรับอุปกรณ์ในการทำความสะอาดนั้นควรใช้อุปกรณ์สำหรับกล้องจุลทรรศน์โดยตรงไม่ควรใช้อุปกรณ์ชนิดอื่นมาใช้รวมกัน เพราะจะทำให้สิ่งแปลกปลอมหลงติดเข้ามาที่กล้องจุลทรรศน์นี้ได้ และควรตรวจสอบหลอดไฟของกล้องจุลทรรศน์อย่างสม่ำเสมอค่ะ

กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน

กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน

            หลายคนรู้จักกล้องจุลทรรศน์แต่ไม่รู้ว่ากล้องจุลทรรศน์นั้นมีแบบไหนบ้าง แต่เท่าที่เคยเป็นและได้ใช้บ่อยมากที่สุดก็คงจะเป็นกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง แต่กล้องจุลทรรศน์ที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายนิยมนำมาใช้กันนั้นก็คือ กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอนที่มีคุณสมบัติขยายเซล์ลหรือชิ้นส่วนต่างๆ ที่เราต้องการทดสอบได้ถึงขนาด 200,000 ถึง 500,000 เท่าเลย เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนนี้ใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์ในการส่อง จึงทำให้เห็นภาพที่ส่องในกล้องนี้ได้ 2 ถึง 3 มิติกันทีเดียว ซึ่งกล้องจุลทรรศน์นี้จะมีราคาที่ค่อนข้างแพงมาก และวิธีการใช้งานนั้นก็ค่อนข้างสลับซับซ้อน แต่ภาพที่ได้นั้นค่อนข้างละเอียดมากกว่า จึงไม่แปลกว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายหรือสถาบันวิจัยชั้นนำนั้นจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอนนี้ในการวิจัยงานททั้งหลายเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะเซล์ลของสิ่งมีชีวิตนั้นค่อนข้างมีเยอะและเล็กขึ้น ซึ่งนักวิชาการทั้งหลายอาจต้องเช็คหรือวิเคราะห์เชลล์ต่างๆ อย่างละเอียดเพื่อหาข้อข้องใจได้

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

กล้องจุลทรรศน์ การเบิกเนตรทางวิทยาศาสตร์

กล้องจุลทรรศน์ การเบิกเนตรทางวิทยาศาสตร์       

               สายตามนุษย์ถือได้ว่าเป็นประดิษฐ์กรรมมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ธรรมชาติรังสรรขึ้นมาบนโลก ด้วยลักษณะการทำงานสอดคล้องกันอย่างลงตัว ระหว่าง เรติน่า กระจกตา ตาดำ ตาขาว และโพรงเบ้าตาทำให้ตามนุษย์มีสมรรถนะการมองเห็นที่เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตในกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกันมาก ทั้งสามารถมองเห็นด้วยขอบเขตสายตาถึง 180 องศาทางด้านหน้า รับภาพสีได้อย่างสมจริง และไวต่อความเคลื่อนไหวหรือสิ่งเร้า (ซึ่งส่งผลต่อการตอบสนอง) แต่ก็ใช่ว่าตาของมนุษย์จะเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุดในการมองเห็น ตาของมนุษย์ไม่สามารถจับการเคลื่อนไหวที่เร็วมากเกินไปหรือถี่มากเกินไปได้ นอกจากนี้สิ่งที่มีขนาดเล็กมากๆ หรือรายละเอียดของวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆมนุษย์ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ วิทยาศาสตร์ในช่วงแรกจึงเติบโตในวงแคบๆกับสิ่งที่มนุษย์มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น แต่กระนั้นมนุษย์ก็ไม่มีวันหยุดสงสัย การค้นพบและประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคป ในปี 1590 จึงช่วยให้ขอบเขตของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ก้าวไปสู่พื้นที่ใหม่ๆมากขึ้น

กาลิเลโอ กับจุดเริ่มเล็กๆ สู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่

กาลิเลโอ กับจุดเริ่มเล็กๆ สู่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่

             เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชือดังท่านนี้กันเป็นอย่างดี ท่านเป็นที่รู้จักในหลายๆฐานะทั้งนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังแห่งยุคกลางช่วงปลาย (ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการช่วงต้น กาลิเลโอ : 1564-1642) ผู้ไขแสดงพามนุษย์ข้ามพ้นความงมงายที่ศาสนจักรยัดเยียด คนบ้า คนนอกศาสนา หรือกระทั่งทาสของปิศาจ แต่ฐานะที่เชื่อว่าทุกคนรู้จักเขาเป็นอย่างดีคือนักประดิษฐ์อัจฉริยะที่เชี่ยวชาญในองค์ความรู้ทางฟิสิกส์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านกลศาสตร์และแสง ถ้าพูดถึงงานประดิษฐ์ประเภทกล้อง หลายท่านน่าจะนึกถึงกล้องโทรทัศน์ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกที่ทำให้กาลิเลโอค้นพบดาวยูเรนัสและเนปจูน แต่จะรู้กันหรือไม่ว่าท่านเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างกล้องจุลทรรศน์ เพราะสิ่งประดิษฐ์สำคัญของท่านชิ้นหนึ่งก็คือแว่นขยายที่ท่านค้นพบโดยบังเอิญในระหว่างพยายามหารายละเอียดเพื่อทดลองสิ่งอื่นๆ เรียกได้ว่าการค้นพบเล็กๆของท่านเป็นที่มาของการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในภายหลังก็ว่าได้

sacharias Jansen บิดาแห่งไมโครสโคป

sacharias Jansen บิดาแห่งไมโครสโคป

             ถ้าเราพูดถึงการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์โดยตรง นักวิทยาศาสตร์ (จริงๆแล้วเค้าเป็นช่างทำแว่นตา) ชาวฮอลันดา(เนเธอร์แลนด์) ผู้นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นบิดาของกล้องจุลทรรศน์ก็ว่าได้ เพราะเขาเป็นผู้นำเอาการค้นพบของกาลิเลโอไปต่อยอดด้วยทฤษฎีการหักเหของแสง จนสามารถวางหลักพื้นฐานและประดิษฐ์กล้องจุลทรรศตัวแรกขึ้นมาได้สำเร็จ ตาคนที่ผมกำลังพูดถึงอยู่นี้ก็คือ นาย Sacharias Jansen นั่นเอง Sacharias Jansen เป็นช่างทำแว่นตาชา่วดัชท์ (คศ. 1580-1632 : David Whitehouse 2009)เขาเกิดในตระกูลช่างทำและค้าขายแว่นตา จึงมีความเชี่ยวชาญเรื่องของเลนส์ประเภทต่างๆที่มีในสมัยนั้น นายคนนี้นี่เองที่สนใจแนวคิดเรื่องแว่นขยายของกาลิเลโออย่างมาก เขาทดลองนำเลนส์ขยายสองเลนส์มาวางต่อกันแล้วจ้องมองดูปรากฎว่ามันช่วยให้สายตาคนสามารถมองลงไปจนถึงรายละเอียดของวัตถุได้ นำมาสู่การประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคปแบบพื้นฐาน ซึ่งใช้หลักการหักเหแสงในการทำงาน แม้ช่วงแรกจะใช้งานได้ยากเพราะมีแสงภายนอกเข้ามารบกวน แต่นักประดิษฐ์รุ่นหลังก็พัฒนาจนกล้องจุลทรรศน์สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีในทางปฏิบัติ

Robert hooke เมื่อกล้องจุลทรรศน์ใช้สะดวกขึ้น

Robert hooke เมื่อกล้องจุลทรรศน์ใช้สะดวกขึ้น

             ปัญหาการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ในยุคแรกๆนอกจากจะเป็นเรื่องของแสงจากภายนอกที่เข้ามารบกวนการมองวัตถุแล้ว ยังมีเรื่องของความยุ่งยากที่เกิดจากปัญหาทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของตัวกล้องด้วย เนื่องจากตัวกล้องในช่วงแรกมีลักษณะโครงสร้างที่ประกอบขึ้นอย่างง่ายๆ การอำนวยความสะดวก และการประยุกต์ใช้งานจึงเป็นเรื่องที่ผู้ใช้ต้องบริการตนเอง เช่น เลนซ์ของกล้องผู้ใช้งานจะต้องถือและปรับโฟกัสด้วยมือ (OTZ) ส่งผลให้กล้องจุลทรรศน์ยุคแรกใช้งาน และดูแลรักษาค่อนข้างยาก เป็นบุญของพวกเราที่ตาคนนี้เกิดมาช่วยให้ตอนเรียนวิทยาศาสตร์เราไม่ต้องทำอะไรยุ่งยากอย่างที่กล่าวไป เขาผู้ที่กำลังจะกล่าวถึงนี้ก็คือ Robert Hooke นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ (คศ. 1635-1703) แม้เขาจะไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดใหม่หรือเพิ่มกำลังขยายให้กับกล้องจนหน้าตกใจ แต่สิ่งที่เขาให้ไว้กับอนุชนรุ่นหลังก็คือความสะดวกที่มากขึ้นในการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ เนื่องจากเขาเป็นผู้ประดิษฐ์ลำกล้องทรงกระบอก ซึ่งมีส่วนช่วยสำคัญในการป้องกันแสงภายนอก และช่วยให้เลนส์ซ้อนกันโดยไม่ต้องถือเอาไว้

Ernst Ruska บิดาแห่งกล้องจุลทรรศน์ยุคใหม่

Ernst Ruska บิดาแห่งกล้องจุลทรรศน์ยุคใหม่

              แม้กล้องจุลทรรศน์จะช่วยให้มนุษย์สามารถมองเห็นสิ่งที่ลำพังสายตาตนเองไม่สามารถมองเห็นได้แล้ว แต่ข้อจำกัดของกล้องจุลทรรศน์ยุคแรกคือการทำงานด้วยแสงนั้นความยาวของคลื่นแสงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กำลังขยายของกล้องมีความจำกัด อยู่ที่ประมาณ หลักร้อยเท่าเท่านั้น (ในทางชีวะวิทยาอาจสามารถมองเห็นถึงโครงสร้างคร่าวๆของเซลล์สิ่งมีชีวิต แต่ไม่อาจมองถึงส่วนประกอบภายในโดยละเอียดได้) การคิดประดิษฐ์กล้องไมโครสโคปที่ทำงานด้วยอิเลคตรอนจึงเป็นการเบิกเนตรของมุนษย์ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ลงไปอีกระดับหนึ่งที่ลึกซึ้งกว่าการเบิกเนตรครั้งแรกมาก ผู้ที่เป็นบิดาแห่งกล้องจุลทรรศน์ยุคใหม่ก็คือ Ernst Ruska นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันนีนั่นเอง กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนใช้หลักการทำงานที่แตกต่างจากกล้องจุลทรรศน์แบบแสงมากพอสมควร กล้องจุลทรรศน์แบบนี้จะใช้การยิงอิเลคตรอนลงไปในวัตถุ และใช้เครื่องอ่านสัญญาณนำสัญญาณที่สะท้อนออกมามาทำเป็นภาพลายเส้น ภาพที่ได้จึงไม่ใช่ภาพจริงแบบกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง แต่ก็สามารถเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประวัติของกล้องจุลทรรศน์

ประวัติของกล้องจุลทรรศน์

            ประวัติของกล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์คืออุปกรณ์ที่ใช้ส่องขยายวัตถุที่มีขนาดเล็กที่อาจจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าให้ขยายจนสามารถมองเห็นรายละเอียดได้ผู้ริเริ่มประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เป็นคนแรกชื่อ นาย แจนเสน เป็นช่างทำแว่นตาชาวฮอลันดา ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ ประกอบด้วยแว่นขยายสองอัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2208 นายโรเบิร์ต ฮุก ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบที่มีลำกล้อง ป้องกันการรบกวนจากแสงภายนอก และไม่ต้องถือเลนส์ให้ซ้อนกัน เขาใช้ส่องจุกไม้คอร์กฝานบางๆจนค้นพบช่องว่างมากมายและให้ชื่อช่องว่างนั้นว่าเซลล์ แต่ผู้ที่ได้รับกายยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์คือ นายแอนโทนี แวน เลเวนฮุค ชาวฮอลันดา ในปี พ.ศ.2215 นายเลเวนฮุค ได้สร้างกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์เดียวและได้ส่องพบสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำ เซลล์เม็ดเลือด เซลล์อสุจิ ฯลฯ เขารายงานไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน จึงทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์

ประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์

ประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์

            ประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์มีการใช้งานในหลากหลายองค์กร ตั้งแต่ระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย แล็บ อุตสาหกรรม เป็นต้น ใช้ในการศึกษาทางชีววิทยา ศึกษาโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต เซลล์ เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆโดยเฉพาะในทางการแพทย์ เช่นการศึกษาความผิดปกติของเซลล์ ศึกษาเชื้อโรค ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการหาหนทางรักษาโรค หรือผลิตยา ใช้ส่องเพื่อช่วยในการผ่าตัด ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านการเกษตรเช่น ใช้ศึกษาเซลล์พืช ใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ตัดต่อเนื้อเยื่อ เพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชใช้ในด้านการอุตสาหกรรม เช่นใช้เพื่อช่วยในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคขนาดเล็ก ใช้เพื่อตรวจดูอัญมณีเช่น ดูเพชรปลอมในด้านอื่นๆนอกแล็บ ในกรณีนี้อาจจะใช้กล้องจุลทรรศน์ขนาดเล็กซึ่งในปัจจุบันนี้มีรุ่นที่พัตนาเพื่อใช้ร่วมกับโทรศัพท์มือถือประเภทสมารท์โฟนเพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน เพื่อใช้ในงานที่ไม่ละเอียดมาก เช่น ใช้ส่องธนบัตรปลอม ส่องแมลง ใช้ส่องดูพระเครื่อง ดูวัตถุโบราณ เป็นต้น

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

              ดังที่กล่าวมาในหัวข้อที่แล้วว่ากล้องจุลทรรศน์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ ในหัวข้อนี้จะพูดถึงกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง(Optical microscopes) กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงมีหลัการทำงานดังนี้คือ ใช้แสงเป็นตัวช่วยในการทำให้มองเห็นภาพ โดยแสงจะวิ่งผ่านระบบเลนส์ต่างๆ และมีการส่องไปที่วัตถุ ก่อนที่แสงจะส่องผ่านเข้าสู่สายตาเรา ซึ่งแสงที่อยู่ภายในระบบที่สะท้อนกลับเข้าสู่สายตาเราจะทำให้เราเห็นภาพได้โดยการมองผ่านเลนส์ ซึ่งยังแยกประเภทย่อยออกไปตามแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้อีกด้วยดังนี้ Light microscope จะเห็นเชื้อจุลินทรีย์มีสีเข้ม บนพื้นหลังสีขาว Stereo microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ส่องดูสิ่งมีชีวิตที่ไม่เล็กมาก ส่องดูเป็น3มิติ Dark field microscoe จะเห็นเชื้อจุลินทรีย์สว่าง บนพื้นหลังสีดำ Phase contrast microscope ใช้สำหรับส่องเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังไม่ได้ทำการย้อมสีFluorescence microscope ใช้แหล่งกำเนิดแสงเป็น อัลตราไวโอเลต ส่องดูจุลินทรีย์ที่ย้อมด้วยสารเรืองแสง Polarized Microscope จะใช้ดูลักษณะการจัดเรียงตัวของเซลล์ว่ามีทิศทางไปในทางใด Confocal Microscope กล้องชนิดนี้นั้นสามารถทำการวิเคราะห์ภาพออกมาเป็น 3 มิติได้

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน

           ในหัวข้อนี้จะพูดถึงกล้องจุลทรรศน์อีกประเภทหนึ่งคือกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอน(Electron microscope) กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2475 โดย แมกซ์ นอล์ล และ เอิร์น รุสกาโดยพัฒนามาจากกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสง โดยจะใช้ลำอิเล็กตรอนมาแทนที่แสง และใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทนเลนส์แก้วซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการมองเห็นภาพของวัตถุที่มีกำลังการขยายสูงมาก กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนมี สองประเภทได้แก่
1.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (Transmission Electron microscope) หรือเรียกแบบย่อว่า TEM ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันมีกำลังขยายมากถึงสองแสนถึงห้าแสนเท่า และสามารถส่องวัตถุได้ถึง 0.5 นาโนเมตร ได้ภาพที่เป็น 2 มิติ
2.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (Scanning Electron microscope) หรือเรียกแบบย่อว่า SEM ซึ่งคิดค้นโดยเอ็ม วอน เอนเดนนี่ ใช้ศึกษาโครงสร้างของผิวเซลล์หรือผิววัตถุ มีกำลังขยายต่ำกว่าชนิดส่องผ่าน โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิวของวัตถุ ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ

การดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์

การดูแลรักษากล้องจุลทรรศน์

          กล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาสูงผู้ใช้จึงควรรู้จักวิธีถนอมรักษาเพื่อให้กล้องมีประสิทธิภาพในการใช้งานที่สมบูรณ์และยืดอายุการใช้งานของกล้อง ใช้งานด้วยความระมัดระวังไม่ให้กระทบกระแทกหรือสัมผัสถูกเลนส์ ในกรณีที่ถอดเลนส์ออกจากตัวกล้อง ควรใช้ฝาครอบด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าไปข้างใน กรณีที่กล้องหรือส่วนประกอบใดๆของกล้องตกหรือกระแทก จะมีผลให้เมื่อประกอบกล้องแล้วภาพที่เห็นไม่คมชัด เป็นเพราะระบบภายใน อาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้ ควรส่งให้กับบริษัทซ่อม การทำความสะอาดเลนส์ควรเช็ดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์ cotton bud หรือผ้าขาวบางที่สะอาด และนุ่ม ชุบด้วยน้ำยาไซลีน หรือส่วนผสมของแอลกอฮอล์และอีเทอร์ ในอัตราส่วน 40:60 ไม่ควรเสียบปลั๊กไฟรวมกันกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น เพราะจะทำให้หลอดไฟขาดง่าย และหรี่ไฟก่อนปิดสวิตช์ไฟทุกครั้งอายุการใช้งานของหลอดไฟก่อนเก็บต้องแน่ใจว่าตัวกล้องไม่มีความชื้นหลงเหลืออยู่แล้วจึงคลุมด้วยพลาสติกเก็บไว้ให้ที่สะอาดไม่อับชื้น