ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

Ernst Ruska บิดาแห่งกล้องจุลทรรศน์ยุคใหม่

Ernst Ruska บิดาแห่งกล้องจุลทรรศน์ยุคใหม่

              แม้กล้องจุลทรรศน์จะช่วยให้มนุษย์สามารถมองเห็นสิ่งที่ลำพังสายตาตนเองไม่สามารถมองเห็นได้แล้ว แต่ข้อจำกัดของกล้องจุลทรรศน์ยุคแรกคือการทำงานด้วยแสงนั้นความยาวของคลื่นแสงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กำลังขยายของกล้องมีความจำกัด อยู่ที่ประมาณ หลักร้อยเท่าเท่านั้น (ในทางชีวะวิทยาอาจสามารถมองเห็นถึงโครงสร้างคร่าวๆของเซลล์สิ่งมีชีวิต แต่ไม่อาจมองถึงส่วนประกอบภายในโดยละเอียดได้) การคิดประดิษฐ์กล้องไมโครสโคปที่ทำงานด้วยอิเลคตรอนจึงเป็นการเบิกเนตรของมุนษย์ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ลงไปอีกระดับหนึ่งที่ลึกซึ้งกว่าการเบิกเนตรครั้งแรกมาก ผู้ที่เป็นบิดาแห่งกล้องจุลทรรศน์ยุคใหม่ก็คือ Ernst Ruska นักประดิษฐ์ชาวเยอรมันนีนั่นเอง กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนใช้หลักการทำงานที่แตกต่างจากกล้องจุลทรรศน์แบบแสงมากพอสมควร กล้องจุลทรรศน์แบบนี้จะใช้การยิงอิเลคตรอนลงไปในวัตถุ และใช้เครื่องอ่านสัญญาณนำสัญญาณที่สะท้อนออกมามาทำเป็นภาพลายเส้น ภาพที่ได้จึงไม่ใช่ภาพจริงแบบกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง แต่ก็สามารถเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น