ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาบทบาทจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ศึกษาบทบาทจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

             จากการศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 
พบว่ากิจกรรมของแบคทีเรียในน้ำทะเล มีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆ ดังนี้
1.แบคทีเรียในน้ำทะเลมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆได้ดี สารอินทรีย์ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์จะถูกย่อยสลายให้เป็นแร่ธาตุต่างๆ ส่วนอีก 40 เปอร์เซ็นต์จะเปลี่ยนเป็นสารประกอบของเซลล์แบคทีเรีย สารอินทรีย์ที่ถูกย่อยสลายได้รวดเร็วได้แก่ กรดอะมิโนและคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ส่วนไขมันและโพลีแซคคาไรด์ที่ซับซ้อนมากๆจะถูกย่อยสลายอย่างช้าๆ
2.แบคทีเรียในน้ำทะเลช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรสารต่างๆในทะเล เช่น วัฏจักรไนโตรเจน,วัฏจักรกำมะถัน เป็นต้น
3.แบคทีเรียหลายชนิดในน้ำทะเลที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ กับสัตว์ทะเล เช่น Vibrio anguillarum ทำให้เกิดโรคกับปลา, Mycobacterium marinum ทำให้เกิดวัณโรคในปลาและติดต่อทำให้เกิดโรคกับมนุษย์ได้ เป็นต้น
หากสนใจกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป เชิญแวะชมและสั่งซื้อได้ทางเว็บไซต์ออนไลน์

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

           จากการศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป พบว่าน้ำทะเลเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุต่างๆ ละลายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก แร่ธาตุเหล่านี้จะมีปริมาณแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่ไหลลงสู่ทะเล ส่วนการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในทะเล พบว่าจุลินทรีย์ในน้ำทะเลมีจำนวนน้อยกว่าในน้ำจืด เพราะน้ำทะเลแร่ธาตุต่างๆ ที่มีความเข้มข้นสูง จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญได้ จุลินทรีย์ที่เจริญได้ในน้ำทะเล เรียกว่า Halophilic microorganism มีทั้งสาหร่าย โปรโตซัว ฟังไจและแบคทีเรีย สำหรับแบคทีเรียในน้ำทะเลจะมีชนิดและปริมาณแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเค็ม ความลึก pH สารอาหารในน้ำทะเล เป็นต้น ในน้ำทะเลระดับลึกๆ จะพบแบคทีเรียได้น้อยมาก เนื่องจากบริเวณเหล่านี้ขาดสารอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานของการเจริญ รวมทั้งมีแรงดันมากเกินไป จะมีก็แต่จุลินทรีย์พวก Barophilic microorganism เท่านั้นที่เจริญได้ 

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาบทบาทจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ศึกษาบทบาทจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

            กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ทำให้เราได้รู้จักกับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  นั้นก็คือ พวกจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในแหล่งน้ำจืด ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนี้
1.การย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ที่ปะปนอยู่ในแหล่งน้ำ เช่น 
-Alginomonas alginovorum, Cytophaga spp. และ Pseudomonas spp. ย่อยสลายเซลลูโลสและเปคตินที่ได้จากการตายของสาหร่ายและพืช
-Chromatium spp. และ Chlorobium spp. เป็นแบคทีเรียมราสังเคราะห์แสงได้ จะใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ละลายอยู่ในน้ำร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสงแล้วให้กำมะถันออกมา
2.การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำที่เกิดจากจุลินทรีย์ เช่น
-Actinomycetes เป็นแบคทีเรียที่ทำให้แหล่งน้ำเกิดกลิ่นแปลกๆ
-สาหร่าย โดยเฉพาะสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งจะเจริญอย่างรวดเร็วและขับสารพิษและสารอื่นๆ ออกมา นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำแล้ว ยังทำให้แหล่งน้ำเน่าเสียเกิดสภาพที่เรียกว่า water bloom
3.ทำให้เกิดโรคหรือเป็นปรสิต เพราะน้ำเป็นพาหะสำคัญของโรคต่างๆ หลายชนิดที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ สัตว์และพืช ซึ่งน้ำทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ศึกษาการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

          จากการศึกษาการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป พบว่าจุลินทรีย์ในน้ำจืดจะมีชนิดและปริมาณแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำ สภาพแวดล้อมต่างๆ และสารอาหารที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำ เช่น ในน้ำพุที่มีกำมะถันอยู่ด้วย จะพบ Sulphur bacteria,ในน้ำพุที่มีธาตุเหล็กจะพบ Iron bacteria และจะพบพวก Thermophilic bacteria ในน้ำพุร้อน เป็นต้น นอกจากนี้จากการส่องตัวอย่างน้ำด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ยังพบอีกว่า น้ำฝนจากชนบทจะมีจุลินทรีย์ปะปนน้อยกว่าน้ำฝนจากบริเวณที่มีฝุ่นละอองและแหล่งอุตสาหกรรมในแหล่งน้ำจืดต่างๆ จะพบแบคทีเรียและฟังไจ ดังนี้ 
1.แบคทีเรีย ที่พบ เช่น Achromobacter, Actinomycetes, Alcaligenes, Azotobacter, Bacillus, Cytophaga, Flavobacterium, Micrococcus เป็นต้น
2.ฟังไจ ที่พบ เช่น Achlya, Aphanomyes,Chytridium,Olpidium,Polyphagus เป็นต้น
หากสนใจกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป เชิญแวะชมและสั่งซื้อได้ทางเว็บไซต์ออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

ศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป      

              จากการศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 
ทำให้เราได้รู้จักกับจุลินทรีย์มากมาย จากแหล่งน้ำจืดมี 4 ชนิด ได้แก่
1.Atmospheric water เป็นน้ำจากเมฆ ตกสู่พื้นโลกในรูปของฝน ลูกเห็บและหิมะ จุลินทรีย์ที่พบจะปะปนมาจากอากาศ ดังนั้นจึงพบจุลินทรีย์จำนวนมากในระยะแรกที่ฝนตก
2.Surface water เป็นน้ำที่ไหลไปตามพื้นดิน จึงละลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ปะปนลงไปทำให้จุลินทรีย์สามารถเจริญได้ดี จุลินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามบริเวณที่น้ำไหลผ่าน เช่น ชุมชน แหล่งปศุสัตว์ และโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แหล่งน้ำมีความแตกต่าง มีผลต่อชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่พบ
3.Storage water เป็นน้ำที่ขังอยู่ในแม่น้ำลำคลอง หรือแหล่งอื่นๆ จะทำให้สารอินทรีย์ต่างๆ และจุลินทรีย์ตกตะกอน แสง UV จากดวงอาทิตย์ยังช่วยทำลายจุลินทรีย์ที่บริเวณพื้นผิวน้ำ โปรโตซัวในแหล่งน้ำจะกินแบคทีเรียเป็นอาหาร สิ่งต่างๆดังกล่าวจะช่วยให้ แหล่งน้ำนี้มีปริมาณจุลินทรีย์ลดลง
4.Ground water เป็นน้ำใต้ดินที่เกิดจากการซึมผ่านของน้ำจากบนดินผ่านชั้นหิน ดินเหนียว และทราย จึงสามารถกรองกากตะกอนและจุลินทรีย์ต่างๆไว้ได้ ทำให้ในน้ำใต้ดินลึกๆจึงปราศจากจุลินทรีย์

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จัก cell inclusion ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จัก cell inclusion ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

            cell inclusion ที่สำคัญในเซลล์ฟังไจ ถือเป็นแหล่งอาหารของเซลล์ เป็นอาหารสะสม ได้แก่ ไกลโคเจน และลิปิด อาหารสะสมที่พบมากที่สุดในเซลล์ทั่วไปและเซลล์ของโครงสร้างที่ใช้สืบพันธุ์คือ ไกลโคเจน ส่วนลิปิดจะพบมากในสปอร์ และเป็นสารอาหารที่นำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานและแหล่งคาร์บอนในการเจริญได้ดี เมื่อดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ยังพบอีกว่าโดยทั่วไปแล้วไกลโคเจนและลิปิดจะพบมากในเซลล์ที่เจริญเต็มที่มากกว่าเซลล์ที่มีอายุน้อยๆ ฟังไจบางชนิดในพวก Ascomycetes และ Basidiomycetes จะสะสม mannitol มากกว่าโพลีแซคคาไรด์อื่นๆ และยังพบผลึกของสารต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น crystalline albuminous bodies และ calcium oxalate เป็นต้น นอกจาก cell inclusion แล้วโครงสร้างอื่นๆ ของฟังไจที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่ นิวเคลียส, lomasomes เป็นต้น ก็มีความสำคัญและน่าศึกษาต่อไป สำหรับท่านที่กำลังมองหากล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคปเพื่อใช้สำหรับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาจมองหากล้องจุลทรรศน์คุณภาพสูงได้จากบริษัทชั้นนำ

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จัก organelles ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จัก organelles ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป


         พลังของกล้องจุลทรรศน์ช่วยให้เราได้ทำความรู้จักกับ organelles ต่างๆภายในเซลล์อขงฟังไจซึ่งมีดังต่อไปนี้ ไมโตคอนเดรีย เป็น organelles ที่มีรูปร่างและจำนวนแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของฟังไจ ช่วงระยะการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ไมโตคอนเดรียมีหน้าที่ในการสร้างพลังงานในกระบวนการ oxidative phosphorylation เอนโดพลาสมิคเรติคูลัม มีความสำคัญเกี่ยวกับการเจริญในด้านขยายขนาดและความยาวของไฮฟา เนื่องจากการเจริญของไฮฟาต้องการลิปิดและโปรตีนที่สังเคราะห์จากเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระไปใช้ในการสร้างส่วนประกอบอื่นๆ ของเซลล์ ไรโบโซม มีพบทั้งที่ไซโตปลาสซึม และเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน โดยไรโบโซมในไซโตปลาสซึมจะสังเคราะห์โปรตีนที่นำไปใช้ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ ส่วนไรโบโซมที่เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระจะสังเคราะห์โปรตีนเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมภายนอกเซลล์ กอลไจแอพพาราตัส ทำหน้าที่สังเคราะห์สารโมเลกุลใหญ่และสารประกอบเชิงซ้อนให้กับเซลล์ เช่น lipoprotein ในเซลล์ปลายไฮฟาจะมีกอลไจแอพพาราตัสทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เซลล์เมมเบรน

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จักเซลล์เมมเบรนของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จักเซลล์เมมเบรนของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป


          หากเราส่องดูฟังไจผ่านกล้องไมโครสโคปเราจะเห็นเซลล์เมมเบรน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของฟังไจ ด้วยกำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคปทำให้เมื่อส่องดูจะทำให้เราเห็นว่าเซลล์เมมเบรนประกอบด้วยลิปิดและโปรตีนที่จะจัดเรียงตัวเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของ lipoprotein ซึ่งชนิดและจำนวนของลิปิดและโปรตีนจะแตกต่างกันไป เซลล์เมมเบรนทำหน้าที่ห่อหุ้มโปรโตปลาสซึม และควบคุมการนำสารเข้าสู่ภายในเซลล์ ส่วนในเซลล์ยีสต์จะทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์ผนังเซลล์ด้วย สำหรับปัจจัยที่สำคัญในการทำงานของเซลล์เมมเบรนจะแตกต่างกันไป เช่นใน Saccharomyces cerevisiae ที่นำไปเพาะเลี้ยงในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จะไม่สามารถสังเคราะห์กรดไขมันไม่อิ่มตัวและ sterol เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเซลล์เมมเบรนได้ แต่ถ้าหากให้ได้รับออกซิเจนจะสร้างได้ตามเดิม นอกจากนั้นยังพบอีกว่าถ้าหากกรดไขมันและ sterol ที่เซลล์เมมเบรนผิดปกติไปจะมีผลต่อกระบวนการออสโมซิส การถูกทำลายได้ง่ายด้วยอุณหภูมิสูงและการนำสารเข้าสู่เซลล์

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จักผนังเซลล์ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

 รู้จักผนังเซลล์ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

การศึกษาฟังไจทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่าโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ ก็คือ ผนังเซลล์ ผนังเซลล์ของฟังไจทำหน้าที่เช่นเดียวกับผนังเซลล์ของพืชชั้นสูง โดยจะช่วยทำให้เซลล์คงรูปอยู่ ส่วนประกอบของผนังเซลล์ ส่วนมากประกอบไปด้วยสารพวกไคติน หรือเซลลูโลสกับไคติน แต่ในฟังไจบางชนิดอาจจะมีโปรตีน ลิปิด และสารประกอบอื่นๆ อีกด้วย พวกยีสต์ ซึ่งเป็นพวกเซลล์เดียว ผนังเซลล์จะมีไคตินเพียงเล็กน้อย แต่ส่วนมากจะประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์สองชนิด คือ glucan (ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ของกลูโคส) และ mannan (ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ของแมนโตส ) เป็นจำนวนมากถึงสองในสามของสารประกอบทั้งหมดของผนังเซลล์ ส่วนสารอื่นๆ ได้แก่ heteropolysaccharide,chitosan,amino sugar,lignin, โปรตีนและลิปิดสารประกอบของผนังเซลล์ต่างๆจะเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุการเจริญเติบโตช่วงระยะที่มีการสร้างสปอร์และสภาวะแวดล้อมภายนอก อย่างเช่น ส่วนประกอบของสารอาหารในอาหารเลี้ยงเชื้อ, pH และอุณหภูมิ เป็นต้น

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จักฟังไจ (Fungi) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จักฟังไจ (Fungi) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 

           ในชีวิตประจำวัน เราคงเคยเห็นเห็ดชนิดต่างๆรวมทั้งราขนมปังที่เราคุ้นเคย จากการส่องกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคป เพื่อศึกษาและทำความรู้จักฟังไจ ฟังไจ(Fungi)หรือเรียกว่า เห็ดรา เป็นสิ่งมีชีวิต จัดอยู่ในอาณาจักรฟังไจ(Kingdom Fungi) คือ อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตที่มีนิวเคลียสแบบยูคารีโอต ไม่ใช่พืชและไม่ใช่สัตว์ มีผนังเซลล์คล้ายพืช คือมีองค์ประกอบเป็นเซลลูโลสกับไคติน แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นจึงสร้างอาหารเองไม่ได้ สร้างสปอร์ได้ มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ พบได้ทั้งที่มีโครงสร้างเป็นแบบเซลล์เดียว เช่น ยีสต์หรือหลายเซลล์โดยเซลล์เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันเป็นเส้นใยที่เจริญเติบโตตามแนวยาวได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เส้นใยแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา(hypha) เส้นใยรวมกันเรียกว่า ไมซีเลียม (mycelium)ฟังไจจะดำรงชีวิตแบบปรสิตหรือแบบผู้ย่อยสลาย ได้รับสารอาหารจากการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนให้เป็นโมเลกุลเล็ก จากนั้นจึงดูดซึมเข้าเซลล์ (saprophyte)สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ ได้แก่ เห็ด,รา และยีสต์ 

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กล้องจุลทรรศน์พกพา

กล้องจุลทรรศน์พกพา

          กล้องจุลทรรศน์พกพาเหมาะกับการไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ ที่ไม่สามารถนำกล้องจุลทรรศน์ที่มีขนาดใหญ่พกติดตัวไปด้วยได้เพราะนอกจากจะทำให้การปฏิบัติการเก็บตัวอย่างเต็มไปด้วยความลำบากแล้วนั้น กล้องจุลทรรศน์อาจจะเกิดความเสียหายได้เพราะกล้องจุลทรรศน์ตัวๆหนึ่งค่อนข้างแพงยิ่งเป็นกล้องจุลทรรศน์รุ่นเก่าอาจจะหาองค์ประกอบมาซ่อมแซมได้ยากทั้งเลนส์ใกล้ตา เลนส์ใกล้วัตถุ ฐานที่วางตัวอย่าง เป็นต้น แต่กล้องจุลทรรศน์แบบพกพามีอัตรากำลังขยายค่อนข้างต่ำทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างที่ต้องการรายละเอียดมากๆได้ เพราะกล้องแบบพกพามีกำลังขยายเพียง 20x-40x เท่า มีหลอดไฟแบบ Super-bright LED ช่วยให้ภาพสว่าง คมชัด เหมาะในการดูรายละเอียดพวกวัตถุและพื้นผิวต่างๆ เช่นการเอาสแตมป์มาส่องเพราะดูลายน้ำของสแตมป์ ลายผ้า รวมถึงลายละเอียดผิวเนื้อของวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อดูว่าวัตถุมงคลนั้นเป็นของจริงหรือของปลอม ซึ่งจะให้ลายละเอียดมากกว่าการใช้แว่นขยายในการส่องดูวัตถุมงคล 

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ทางการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย

ประโยชน์ทางการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย

            การใช้กล้องจุลทรรศน์เลนส์ประกอบทั้งแบบใช้แสงธรรมดาหรือการใช้แสงแบบอื่นๆ มีข้อจำกัดในการขยายภาพตัวอย่างที่เอามาส่อง เพราะกำลังขยายและกำลังในการแยกแยะตัวอย่างนอกจากขึ้นกับแสงแล้วนั้นยังขึ้นอยู่กับเลนส์ในการมองเป็นส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่ง สำหรับในการตรวจหาเชื้อมาลาเรียนันการย้อมฟิลม์หนาด้วยสี giemsa และเอามาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ยังเป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย สำหรับการตรวจด้วยฟิลม์หนาซึ่งมีความไวสูงและตรวจหาได้แม้มีปริมาณตัวอย่างเลือดเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะในการตรวจวินิจฉัยตามคลินิก เพราะเมื่อวินิจฉัยเสร็จต้องรีบทำการรักษาผู้ป่วยให้ทันท่วงที และก็จะมีข้อจำกัดเพราะต้องตรวจราวๆ 30 นาทีและหากเชื้อมาลาเรียมีปะปนในเลือดน้อย อาจจะทำให้หาไม่พบและเป็นเหตุให้รักษาและวินิจฉัยโรคผิด และอาจจะทำให้รักษาผู้ป่วยไม่ทันท่วงที หากผู้ปฏิบัติการไม่มีความชำนาญในการใช้กล้องจุลทรรศน์ในการตรวจรักษาตัวอย่างที่มีปริมาณน้อย

กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด

กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด

          กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เป็นกล้องจุลทรรศน์อีกประเภทหนึ่งที่พัฒนามาจากกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสง โดยกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ electron เป็นแหล่งกำเนิดแสงแทนการใช้หลอดไฟเป็นเครื่องกำเนิดแสง เป็นเครื่องมือที่ใช้ศึกษาลักษณะสัณฐานของวัสดุในระดับจุลภาค ซึ่งเป็นรายละเอียดที่มีขนาดเล็กมากเล็กมากกว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดาจะมองเห็นได้ และเนื่องจากข้อจำกัดทางด้านความยาวคลื่นแสงค่อนข้างหยาบของกล้องจุลทรรศน์แบบแสงอีกทั้งการมองเห็นลายละเอียดต่างๆในการแยกตัวอย่างแบบแสงธรรมดามีค่าต่ำ ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆหรือเจาะลึกข้อมูลของตัวอย่างได้ ซึ่งข้อจำกัดเหล่านี้ไม่มีและไม่เกิดในการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีการออกแบบให้มีกำลังขยายสูงๆได้ เพราะเนื่องจากการใช้หลักการทำงานของความยาวคลื่นสั้น ในการเอามาวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างวัตถุที่เอามาส่องโดยใช้ประโยชน์ของกำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน 

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ข้อจำกัดกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

ข้อจำกัดกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

           หากว่ากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงแม้จะมีการใช้เลนส์คุณภาพสูงที่สุดในโลกและอีกทั้งมีกำลังขยายมากที่สุดในโลกแล้ว แต่มันก็ยังจะมีขีดจำกัดของการใช้งานอยู่เนื่องจากแสงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้งานกล้องจุลทรรศน์มองเห็นวัตถุตัวอย่างที่เอามาส่องกล้องได้ เมื่อวัตถุมีขนาดเล็กลงไปในระดับหนึ่งผู้ใช้งานจะไม่สามารถใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูได้ เพราะแสงมีความยาวคลื่นประมาณ 500 nm ดังนั้นผู้ใช้งานกล้องจุลทรรศน์ประเภทแสงไม่มีทางใช้แสงในการมองเห็นตัวอย่างที่มีขนาดเล็กกว่าความยาวคลื่นแสงได้ อีกทั้งในสภาวะปกติแสงที่ตาของมนุษย์เรามองเห็นได้นั้นจะอยู่ในช่วง 380-750 nm และขีดจำกัดอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่นแสงที่ตกกระทบวัตถุตัวอย่างที่เอามาส่องนั้นๆแต่ส่วนมากแสงที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจะอยู่ในช่วงราวๆ 250 nm ไม่ได้สามารถมองเห็นได้ทุกช่วงคลื่นและอีกทั้งยังขึ้นอยู่กับสายตาของบุคคลแต่ละคนที่มาใช้งานกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงอีกปัจจัยหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา

กล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา


          กล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคปแบบธรรมดา สิ่งแรกที่เป็นลักษณะเด่นที่คิดถึงก็คือการใช้แสงในการทำงานส่องผ่านวัตถุตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจน และหลักการทำงานของกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดานี้ใช้หลักการทำงานจากการสะท้องของแสง และกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงยังสามารถแบ่งออกเป็นแบบย่อยๆ ได้หลายชนิด โดยแต่ละชนิดก็ออกแบบเพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน โดยใช้การทำงานของแสงสีขาวผนวกกับเลนส์แก้วที่ใช้ในการรับแสง อีกทั้งในตัวลำกล้องยังมีอากาศ ไหลผ่าน เมื่อส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ภาพที่มองเห็นจะเป็นภาพเสมือนแบบหัวกลับ ถ้าเป็นกล้องจุลทรรศน์แบบ light microscope เหมาะในการดูเชื้อจุลินทรีย์ ส่วน dark field microscope เหมาะในการส่องจุลินทรีย์ขนาดเล็กติดสียาก หากเป็น phase contrst microscope ดูจุลินทรีย์ที่ไม่ผ่านการย้อมสีซึ่งจะเห็นได้ชัดกว่า light microscope ส่วนแบบ fluorescence microscope ส่องพวกจุลินทรีย์ย้อมด้วยสารเรืองแสง โดยพื้นหลังมักเป็นสีดำ

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความสะดวกรวดเร็วของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

ความสะดวกรวดเร็วของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

            ความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ มีประสิทธิภาพไม่ไร้ราคา ลดต้นทุนการผลิตต่างๆ ดังนั้น ระบบตรวจสอบอัตโนมัติจึงเป็นหนึ่งตัวเลือกที่เด่นและสำคัญในการใช้งานที่ผลิต สิ่งของจำนวนมากๆพร้อมกันทำให้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติสำคัญในการผลิตงาน โดยส่วนใหญ่ระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็จะถูกเลือกใช้ในงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากว่ามีความสะดวกสบายรวดเร็ว ง่ายและประหยัดทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ เลือกใช้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติเนื่องจากการผลิตรถยนต์ก็ย่อมมีคุณภาพ เหมาะแก่การใช้งานที่ได้มาตรฐานเพราะเครื่องยนต์ สมรรถนะต่างๆในรถยนต์ต้องย่อมมีคุณภาพ การตรวจเช็คต้องแม่นยำ จึงทำให้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติโดดเด่นพอสมควรในอุตสาหกรรมด้านนี้ และการพิมพ์งานหรือการที่จะทำเอกสารเกี่ยวกับการพิมพ์ก็ต้องอาศัยระบบตรวจสอบอัตโนมัติด้วยเนื่องจากว่า ในเครื่องพิมพ์นั้นต้องมีระบบตรวจสอบอัตโนมัติด้วยโดยที่เครื่องพิมพ์หรือการพิมพ์จะมีเซ็นเซอร์เป็นตัวช่วยในการทำงาน และงานอีกหลายๆด้านที่ระบบตรวจสอบอัตโนมัติเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นประจำแต่ว่า ระบบอัตโนมัติก็จะมีบางส่วนหรือส่วนต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ

ความแม่นยำและเชื่อถือได้ของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

ความแม่นยำและเชื่อถือได้ของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

         สาเหตุที่สำคัญที่คนเลือกระบบตรวจสอบอัตโนมัติ ในการใช้งานเนื่องจากว่าระบบตรวจสอบอัตโนมัติมีความแม่นยำ ถูกต้อง ได้คุณสมบัติ คุณภาพ การตรวจสอบสินค้าย่อมมีคุณภาพซึ่งระบบตรวจสอบอัตโนมัตินั้นใช้งานตรวจสอบในงานหลายๆด้านแต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ตามงานอุตสาหกรรมที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ครั้งละหลายๆชิ้นในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติยังใช้งานในหลายด้านอย่างเช่น การตรวจสอบคุณภาพหรือตรวจสอบน้ำและระบบพลังงาน และนอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติในหลายๆด้านอีกด้วยเพราะระบบตรวจสอบอัตโนมัติ มีคุณภาพต่อการใช้งาน ได้มาตรฐาน ทำให้ได้งานตรงตามเป้าหมายทุกสิ่งที่ทำออกมาเป็นผลงานที่ดี ผู้เลือกใช้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติจึงมีการเชื่อใจและไว้ใจระบบตรวจสอบอัตโนมัตินี้ ทำให้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติมีตลาดที่กว้างผู้คนต่างเลือกใช้อย่างแพร่หลายและผู้ค้นคิดระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็ยังไม่เลิกพัฒนาระบบตรวจสอบอัตโนมัตินี้ด้วยเพราะว่า สิ่งที่เขาคิดค้นมานั้นย่อมมีประโยชน์ต่อใครหลายคนและสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมานั้นยังเป็นที่ต้องการแก่หลายๆคนด้วย ทุกคนทุกฝ่ายงานต่างรอคอยสิ่งมีประโยชน์จากเขาจึงทำให้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติก้าวไกลไม่สิ้นสุด

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีกับความล้ำสมัย

เทคโนโลยีกับความล้ำสมัย

            ระบบตรวจสอบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่หลากหลายฝ่ายนำมาใช้ในการตรวจสอบงานที่รวดเร็วไม่เปลืองเวลา ดังนั้นระบบตรวจสอบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่มาใหม่ล้ำสมัย เนื่องจากว่าชีวิตปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆมีบทบาทเข้ามาในชีวิต ความทันสมัยเทคโนโลยีมีเข้ามาทุกๆด้านและล้วนก็มีโทษและหลากคุณประโยชน์ซึ่งไม่ต่างจากดาบสองคมนั้นเอง เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างระบบตรวจสอบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ว่ารายเล็ก รายใหญ่ รายย่อยต่างก็เลือกใช้เพราะระบบตรวจสอบอัตโนมัติมีความสะดวกรวดเร็ว เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ และต่างมีความถูกต้องแม่นยำ การใช้งานได้มาตรฐาน รูปแบบงานที่ออกมาย่อมมีคุณภาพ และความทันสมัยของระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็ทำให้ชีวิตงานการผลิตต่างๆง่ายและมีประสิทธิภาพขึ้น ความล้ำสมัยและเทคโนโลยีของระบบตรวจสอบอัตโนมัตินี้ทำให้เป็นที่ยอมรับและมีคนใช้งานเยอะมากมายและอีกไม่นานระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็ย่อมพัฒนาไปมากกว่านี้และให้คุณภาพ คุณประโยชน์ที่ล้ำสมัยกว่านี้ เพราะว่า อนาคตของเทคโนโลยีไร้คำว่า สิ้นสุด เพราะเทคโนโลยีมีแต่การก้าวหน้าและพัฒนาไปเรื่อยๆไม่มีขาดทำให้ ระบบตรวจสอบอัตโนมัติมีความโดดเด่นและเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้คนเลือกใช้

การใช้งานของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

การใช้งานของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

              ระบบตรวจสอบอัตโนมัติถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง หลายสิ่งหลายอย่างต้องอาศัยระบบตรวจสอบอัตโนมัติ ในการทำงานเพื่อความถูกต้องแม่นยำในเวลารวดเร็ว แต่ต้องเปี่ยมล้นไปด้วยประสิทธิภาพ ระบบตรวจสอบอัตโนมัติเป็นระบบถูกนำมาตรวจจับเช็คของ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรมอย่างเช่น อุปกรณ์การแพทย์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต้องเป็นสิ่งที่ได้มาตรฐานที่สุดและที่สำคัญอุปกรณ์ทางการแพทย์คือ สิ่งสำคัญในการรักษายืดเยื้อ ชีวิตของคน นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติในด้าน การลำเลียงและหุ่นยนต์ซึ่งสินค้าประเภทนี้ก็มีส่วนสำคัญสำหรับมนุษย์เพราะหุ่นยนต์ก็มีประโยชน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่าต่อหลายๆอย่างเช่นกัน การจัดเก็บและการขนส่งสินค้าก็จำเป็นต้องพึ่งระบบตรวจสอบอัตโนมัติเพราะการจับเก็บสินค้าหรือการขนส่งก็ย่อมมีการตรวจสอบที่ถี่ถ้วน ไร้ความกังวลและสินค้าที่ถูกเก็บรักษาไว้ต้องไม่มีคุณภาพ ระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็ใช้ในส่วนของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ด้วย และอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มยังจำเป็นต้องใช้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติด้วย สินค้าประสิทธิภาพก็ล้วนเปี่ยมล้นคุณภาพด้วย

วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของระบบอัตโนมัติ

ประโยชน์ของระบบอัตโนมัติ

               ระบบอัตโนมัติก็คือ การทำงานด้วยระบบที่สำเร็จรูปมีโปรแกรมหรือสิ่งที่เข้ามาใช้งานได้อย่างแม่นยำและประโยชน์ของระบบอัตโนมัติมีมากมายโดยเฉพาะใช้งานอุตสาหกรรม งานโรงงานต่างๆที่ผลิตสิ่งของที่ต้องใช้ เครื่องมือระบบตรวจสอบอัตโนมัติเป็นตัวเช็คงาน และเช็คประสิทธิภาพการใช้ที่สมบูรณ์ได้คุณภาพ และโรงงานส่วนใหญ่จะแบ่งแยกเป็นส่วนๆ ระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็จะเข้าไปมีส่วนใน ส่วนที่แยกย่อยของโรงงานออกมา และมีประโยชน์มากมาย ลดต้นทุนในหลายๆด้านทั้งการเช็คความปลอดภัย แรงงาน ความมีคุณภาพการได้ของตามจำนวนสเป็ค หรือสิ่งต่างๆอีกมาก ส่งผลให้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติมีประโยชน์แพรหลายผู้คนให้ความสำคัญ และเลือกใช้ ผู้ที่ควบคุมหรือออกแบบค้นคิดระบบอัตโนมัติย่อมมีความรู้ความสามารถที่สูงพอสมควร ปัจจุบันระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็สร้างความไว้ใจและเป็นที่ยอมรับของหลายๆทุกภาคส่วน เจ้าของผู้ประกอบการต่างต้องการเรียกใช้ไม่หยุดหย่อนจน ตอนนี้ทุกสถานที่จะมีระบบอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้อง และเข้ามามีบทบาทในการทำงานและการใช้ชีวิตของหลายๆส่วนจนระบบอัตโนมัติกลายเป็นส่วนสำคัญสำหรับใครหลายคนไปอย่างน่าปลื้มใจ

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี

              ผู้ป่วยที่มีอาการนิ่วในถุงน้ำดีนั้น มักรับประทานอาหารพวกแกงกะทิ และอาหารที่มีไขมันสูงๆ เป็นประจำ โดยอาการปวดจะมีอการการปวดเป็นพักๆที่บริเวณลิ้นปี่ ในช่วงแรก ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเมื่อไปพบแพทย์จะมีอาการจุกแน่นที่ลิ้นปี่ แพทย์มักจะวินิจฉัยผิดโดยไม่มีการตรวจให้ละเอียดว่าเป็นโรคกระเพาะหรือนิ่วกันแน่ เพราะอาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะ หรือกระเพาะอักเสบมีอการปวดตรงตำแหน่งเดียวกันกับผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี แต่หากว่ากลับไปแล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์ควรทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน โดยการส่องกล้องหรือเอาชิ้นเนื้อไปตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปวดท้อง ดังนั้นเพื่อให้การรักษาอย่างต่อเนื่องควรรักษากับแพทย์คนเดิมเพื่อที่แพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยต่อจากผลการตรวจครั้งเก่า โดยที่ไม่ต้องไปเริ่มต้นตรวจรักษาใหม่อีกครั้งกับแพทย์คนใหม่ เพราะจะทำให้เสียเวลาในการรักษาไปอีก จะได้ทำการรักษาให้ตรงจุด เพราะยิ่งทำการรักษาช้าอาจจะส่งผลต่ออวัยวะข้างเคียงได้

วันเสาร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การรักษาโรคเก๊าท์

การรักษาโรคเก๊าท์

           โรคเก๊าท์เป็นโรคเกิดจากการสะสมของกรดยูริคในร่างกายเป็นระยะเวลานานจนทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือยูเรตในข้อและทำให้เกิดข้ออักเสบในที่สุด โดยแรกสุดมักเป็นที่ข้อเท้า โดยมีอาการรุนแรงคือปวด บวม แดงและร้อน หากอักเสบจะมีไข้ร่วมด้วย หากนำน้ำไขข้อไปตรวจจะเห็นผลึกของเกลือยูเรตที่มีลักษณะเป็นแท่งคล้ายเข็มอยู่ภายในเม็ดเลือดขาว โดยการตรวจเลือดด้วยกล้องไมโครสโคป ก็สามารถมาใช้ในการวิเคราะห์ระดับกรดยูริคได้ในระดับหนึ่ง สามารถทำการรักษาคือไม่ควรรับประทานอาการพวก สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์และอาหารทะเลมากเกินไป และควรดื่มน้ำมากๆ หรือหากจะดื่มนมก็ควรเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ควบคุมน้ำหนักตัวให้มีความเหมาะสม ไม่ควรใช้ยาแก้ปวดในการรักษาอาการติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรใช้เป็นครั้งคราว ควรไปพบแพทย์เพื่อที่จะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี และควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ และรวมทั้งควรควบคุมน้ำหนักตัวควบคู่กันไปด้วย เพราะโรคอ้วนจะทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งของการที่ข้อต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้น

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่

            โรคไข้หวัดใหญ่มีหลากหลายสายพันธุ์ในการที่จะรักษาให้ถูกสายพันธุ์นั้นสามารถนำน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วยไปทำการวิเคราะห์จากกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูเชื้อไวรัสของไข้หวัดใหญ่ โรคนี้พบได้ทุกเพศทุกวัย และจะเป็นกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถติดต่อกันได้ด้วยการไอ หรือจามหรือแม้กระทั่งการสัมผัสเชื้อโรคผ่านทางมือที่เช็ดน้ำมูก หรือแก้วน้ำที่กินร่วมกันกับผู้ป่วย เป็นต้น อาการเริ่มต้นก็จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศรีษะ ปวดตามแขนขา เจ็บคอ ไอแห้งๆ มีไข้ขึ้นสูง หากเป็นอาการที่ไม่มากนัก กินยาแก้ปวดและนอนพักผ่อนให้เพียงพอจะทำให้อาการทุเลาและหายไปได้ไม่เกินหนึ่งอาทิตย์ แต่หากในบางรายเป็นหนักต้องไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์จ่ายยาให้ตรงกับอาการดื่มน้ำอุ่นแทนการดื่มน้ำเย็น นอนพักผ่อนให้เพียงพอจะทำให้อาการดีขึ้น ส่วนมากไข้หวัดนั้นจะหายเองหากไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นพวก ไซนัส หลอดลมอักเสบ เป็นต้น แต่โรคไข้หวัดนั้นต้องระมัดระวังในหญิงที่ตั้งครรภ์การกินยาแก้ปวดหรือยารักษาไข้หวัดควรทำการปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อกันผลกระทบต่อครรภ์

การรักษาโรควัณโรค

การรักษาโรควัณโรค

          เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีขนาดเล็กที่ตาเปล่าไม่สามารถมองเห็นได้ จำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือ กล้องไมโครสโคปช่วยในการมองเห็นเชื้อโรคประเภทนี้และสามารถถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ หากมีอาการไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์แถมไอแล้วมีเลือดออกนั้น ร่วมกับการมีไข้ต่ำๆ และมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เป็นอาการที่น่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรคปอด เมื่อมีอาการดังกล่าวนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวิเคราะห์ด้วยการตรวจเสมหะเพื่อหาเชื้อวัณโรค ร่วมกับการเอกซ์เรย์ปอดเพื่อดูว่าปอดมีแผลหรือไม่ เพื่อที่จะได้ให้การรักษาอย่างตรงจุด โดยผู้ป่วยต้องมีการกินยาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์สั่ง รวมกับการงดสูบบุหรี่ ดื่มน้ำมากๆ มีการพักผ่อนและอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เมื่อมีการไอหรือจามควรปิดปาก และจมูกเพื่อกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค กินอาหารที่มีประโยชน์ วัณโรคหากพบช่วงแรกๆ ของอาการสามารถทำการรักษาให้หายขาดได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ดูแลเจ้ากล้องจุลทรรศน์นั้นยากไหมหนอ

ดูแลเจ้ากล้องจุลทรรศน์นั้นยากไหมหนอ 

รู้จักกับเจ้าจุลทรรศน์มาบ้างแล้ว รู้แล้วว่าใช้ทำอะไร มีจุดกำเนิดจากไหน และมีประโยชน์อะไรบ้าง คราวนี้มาดูกันว่า เจ้ากล้องจุลทรรศน์นั้นจะเอาใจยากง่ายแค่ไหน ซึ่งในแต่ละรุ่นแต่ละแบบอาจจะมีวิธีการดูแลที่พิเศษต่างกันไป บทความนี้จะเสนอการดูแลรักษาพื้นฐานให้คุณผู้อ่่านได้รู้จักวิธีการดูแลง่ายๆ เผื่อได้ไปหยิบจับ ต้องเก็บเจ้ากล้องจุลทรรศน์ขึ้นมาจะได้ไม่เก้ๆกังๆ ทำผิดทำถูกกันนะคะ
1. หรี่ไฟทุกครั้งก่อนปิดเครื่อง สำหรับกล้องจุลทรรศน์ที่มีหลอดไฟฟ้า
2. หลังการใช้ต้องนำสไลด์ออกจากกล้องทุกครั้ง
3. ทำความสะอาดเลนส์กล้องด้วยกระดาษเช็ดเลนส์เท่านั้น แม้กระทั่งผ้านิ่มๆ หรือกระดาษทิชชู่ก็ไม่ควร และห้ามแตะถูกเลนส์เป็นอันขาด
4. หากกล้องใช้กระจกในการนำแสง ควรหันกระจกไปในด้านที่จะโดนฝุ่นน้อยที่สุด
5. เก็บทุกส่วนของกล้องให้ลงต่ำที่สุด นอกจากลงต่ำแล้ว อย่าให้มีส่วนยื่นออกจากตัวกล้องในแบบผิดทิศผิดทางในที่ที่ควรจะอยู่
6. ใช้ผ้าเช็ดฝุ่นที่เกาะตามลำตัวของกล้อง
7. คลุมกล้องด้วยถุงคลุมกล้องทุกครั้งก่อนนำไปเก็บ
8. เก็บไว้ในที่สะอาดและแห้ง

การรักษาพยาธิ

การรักษาพยาธิ

          เนื่องจากพยาธิมีหลากหลายชนิดบางครั้งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหากไม่สังเกตุอย่างดี บางครั้งก็สามารถสังเกตุมองเห็นได้หากมีการสังเกตุอุจจาระของตัวเองบางครั้งก็จะพบพยาธิเส้นด้าย และอาจจะมีพยาธิอีกหลากหลายชนิดจึงต้องมีการไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือบางครั้งอาจจะมีการรักษาด้วยตัวเองก็คือการกินยาถ่ายพยาธิแต่ก็มีพยาธิบางชนิดทนทานต่อยาขับพยาธิที่มีการขายทั่วๆไป จึงต้องไปให้แพทย์ทำการตรวจอีกครั้ง เพราะพยาธิลำไส้มีทั้งพยาธิตัวกลมที่พบในลำไส้ของคน เช่นพวกพยาธิไส้เดือน พยาธิเส้นด้าย พยาธิปากขอ เป็นต้น และพยาธิตัวแบนที่พบก็จะมีพยาธิตัวตืดหมู พยาธิตัวตืดวัว และพยาธิใบไม้ในตับ เป็นต้น ส่วนมากพยาธิตัวแบนนั้นเกิดจากการที่คนเรากินอาหารสุกๆดิบๆ ไม่กินอาหารที่ปรุงสุกโดยการใช้ความร้อน ทำให้พยาธิและไข่พยาธิที่มีอยู่ในเนื้อสัตว์ทั้งหมู วัว ปลานั้นไม่ตายและเข้าสู่ร่างกายเรา ไข่พยาธินั้นเราไม่สามารถมองได้ด้วยตาเปล่าเพราะขนาดเล็ก ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการมอง การป้องกันควรกินอาหารที่ปรุงสุกและสวมรองเท้าในการเดินเข้าไปในสวนควรล้างมือให้สะอาด

รู้จักบิดาแห่งการใช้กล้องจุลทรรศน์ให้มากขึ้น

รู้จักบิดาแห่งการใช้กล้องจุลทรรศน์ให้มากขึ้น

        ดังที่กล่าวข้างต้นว่า บิดาแห่งการใช้กล้องจุลทรรศน์ คือ แอนโทนี่ แวน เลเวนฮุค คราวนี้มาดูประวัติย่อๆ ของนักวิทยาศาสตร์คนเก่งคนนี้กันค่ะ
        แอนโทนี่ แวน เลเวนฮุค หรือ อังตวน แวน เลเวนฮุค ลืนตาดูโลกเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2175 ณ เมืองแห่งหนึ่งของประเทศเนเธอร์แลนด์ และมีเชื้อสายดัตซ์ จากทารก เติบโตเป็นเด็กและเป็นผู้ใหญ่ สายงานที่แอนโทนี่ แวน เลเวนฮุค เลือกเดิน คือ สายงานด้านวิทยาศาตร์ และยิ่งให้การสนใจเป็นพิเศษต่อจุลชีววิทยา ด้วยเหตุนี้ หลังจากที่เขาประดิษฐ์กล้องที่มีเลนส์เจ๋งๆ ได้แล้ว เขาก็กระตือรือร้น ส่องนู่น ส่องนี่ไปทั่ว จนกระทั่งได้ค้นพบและบันทึกสิ่งใหม่ๆ ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์มากมาย และเป็นความรู้ตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะในด้านจุลชีววิทยา ดังนั้นนอกจากจะได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการใช้กล้องจุลทรรศน์ เพราะผลิตเลนส์กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว เขายังได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งวิชาจุลชีววิทยา" อีกด้วย ซึ่งชีวิตส่วนตัวของเขา เขาชอบเหลาและฝนเลนส์กระจกเอามากๆ ทำจนเป็นงานอดิเรก ว่างเป็นเหลา ไม่มีอะไรทำเป็นต้องฝน และในที่สุด แอนโทนี่ แวน เลเวนฮุค ชายชราวัย 90 ก็นอนหลับไปตลอดกาล ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2266 จากไปด้วยตัวและหัวใจที่รักและหลงใหลในวิทยาศาสตร์ และทิ้งร่องรอยแห่งคุณประโยชน์ไว้ให้โลกได้เรียกชื่อของเขา แอนโทนี่ แวน เลเวนฮุค แม้เวลาจะผันผ่านมากว่าสี่ร้อยปีแล้วก็ตาม

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์

ประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์

         กล้องจุลทรรศน์ที่มีนิสัยชอบส่องสิ่งเล็กๆ ที่เล็กซะยิ่งกว่าเล็ก บวกกับความขี้สงสัยของนักวิทยาศาสตร์ด้วยแล้วมีประโยชน์หลากหลายทีเดียว ถึงแม้เราจะไม่ได้ใช้งานหรือสัมผัสโดยตรง ไม่ได้เอาตาไปจ่อดูส่องเชื้อโรคด้วยตัวเราเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับมีประโยชน์ในชีวิตประจำวันในทางอ้อมเป็นอย่างมากทีเดียว โดยจะขอเล่ากันตามด้านต่างๆ ดังนี้
1. ด้านวิทยาศาสตร์ แน่นอนอยู่แล้ว การชอบส่องสิ่งเล็กๆ ของเจ้ากล้องจุลทรรศน์นี้ ทำให้วงการวิทยาศาสตร์ค้นพบสิ่งใหม่ๆ และพัฒนาก้าวไกลมาจนถึงทุกวันนี้ และจะล้ำหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ แบบไม่มีแววว่าจะหยุดอีกต่างหาก
2. ด้านการแพทย์ เช่น การส่องไวรัส เชื้อโรค เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ทำให้ได้มาซึ่งยาต้านโรค ที่มีประสิทธิภาพ
3. ด้านความงาม คลินิกบางแห่งใช้กล้องจุลทรรศน์ในการวิเคราะห์สภาพผิวหน้าให้แก่ผู้ใช้บริการ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
4. ด้านการศึกษา ยิ่งมีอุปกรณ์ให้เล่น ให้ทดลองมาก ก็ยิ่งเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษา เป็นการเปิดโลกใหม่ๆ เห็นสิ่งใหม่ๆ และได้วิเคราะห์อะไรใหม่ๆ

กล้องจุลทรรศน์มีกี่ชนิด

กล้องจุลทรรศน์มีกี่ชนิด

            กล้องจุลทรรศน์ที่ประดิษฐ์ขึ้นในอดีต ในบางรุ่นยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน และในปัจจุบันก็มีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ให้เข้ากับยุคสมัยที่เทคโนโลยีกำลังล้ำหน้าขึ้นทุกวัน ดังนั้น กล้องจุลทรรศน์จึงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ใหญ่ๆ นั้นคือ กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (แบบกล้องรุ่นแรก) และ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง โดยแสงที่ใช้สามารถใช้ได้ทั้งจากแสงจากธรรมชาติและแสงประดิษฐ์อย่างหลอดไฟ ซึ่งการพัฒนาของกล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ ปัจจุบันสามารถขยายได้ 2 พันเท่าเลยทีเดียว มี 2 แบบ คือ แบบใช้แสงธรรมดาและแบบสเตอริโอ
2. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน กล้องชนิดนี้มีกำลังขยายที่สูงมาก แตกต่างกับกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงตรงที่ ใช้ลำแสงอิเล็กตรอน แทนการใช้แสงอาทิตย์หรือแสงจากหลอดไฟ ในส่วนของเลนส์ขยายนั้น แทนที่จะเป็นเลนส์แก้วธรรมดา ก็ใช้เป็นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแทน ปัจจุบันมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบส่องผ่าน และแบบส่องกราด ถึงแม้ว่ากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงกว่ามากเช่นกัน

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จุดกำเนิดกล้องจุลทรรศน์

จุดกำเนิดกล้องจุลทรรศน์

            กว่าจะเป็นกล้องจุลทรรศน์อย่างทุกวันนี้ได้ ต้องย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของเจ้ากล้องจุลทรรศน์เครื่องแรก เมื่อราวปะมาณ 400 ปีก่อน ในยุคที่ความสะดวกเป็นเหมือนฝุ่นละออง ช่างแว่นตาชาวฮอลันดา นามว่า แจนเสน ได้ให้กำเนิดกล้องจุลทรรศน์ขึ้นมาเป็นเครื่องแรกของโลก ในปี พ.ศ. 2133 หลังจากนั้นราว 80 ปีต่อมา พ.ศ. 2208 นักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง นายโรเบิร์ต ฮุค ได้พัฒนากล้องจุลทรรศน์ และใช้ส่องสิ่งเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ จนเป็นจุดกำเนิดของ "เซลล์" ในปัจจุบัน ไม่กี่ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งกลายมาเป็นบิดาแห่ง "การใช้กล้องจุลทรรศน์" เนื่องจากสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้ดีที่สุดใน พ.ศ. 2215 ท่านผู้นี้มีนามว่า "แอนโทนี่ แวน เลเวนฮุค" โดยกล้องที่ท่านผลิตนั้น เป็นเลนส์ที่ดีที่สุดในยุคนั้น ที่ท่านใช้สองมือ ค่อยๆ บรรจงเหลาเลนส์เหล่านั้นขึ้นมา โดยเลนส์กล้องบางอันสามารถขยายได้ถึง 270 เท่าจากสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า หลังจากนั้นท่านก็ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ท่านประดิษฐ์เป็นประโยชน์แก่วงการวิทยาศาสตร์อีกมากมาย

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตรวจสอบในจุดอันตราย

ตรวจสอบในจุดอันตราย
         การเฝ้าสังเกตที่มีประสิทธิภาพผู้สังเกตจำเป็นต้องอยู่ในจุดที่มีระยะห่างจากจุดที่เกิดปฏิกริยาไม่มากหรือน้อยจนเกินไป แต่บางครั้ง (หรือหลายๆครั้ง) ที่ในกระบวนการทดลองอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อผู้สังเกต เช่น เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกระทันหัน เกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง หรือเกิดการระเบิด การทดลองประเภทนี้เช่น การทดลองเกี่ยวกับฟิสิกส์ ปรมณู หรือการทดลองทางการทหาร การใช้มนุษย์เป็นผู้เฝ้าสังเกตโดยตรงจึงมีความเสี่ยงสูงที่มนุษย์ผู้นั้นจะได้ตรวจสอบครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ระบบตรวจสอบอัตโนมัติจึงเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบ หรือเฝ้าสังเกตกระบวนการทดลองที่มีความเสี่ยงสูง เพราะถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นมาสิ่งที่เราเสียไปก็คือกล้อง 2-3 ตัว เท่านั้น นอกจากนี้ผลการทดลองเราก็บันทึกไว้ในส่วนความจำของหน่วยประเมินผล ต่อให้ตัวกล้องถูกทำลายไปเราก็ยังเรียกดูข้อมูลที่กล้องบันทึกเอาไว้ก่อนพังได้ นอกจากนี้การใช้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติยังสา่มารถใช้เฝ้าสังเกตในจุดที่มนุษย์เข้าไปไม่ได้เช่น บริเวณอุณหภูมิสูง บริเวณแรงดันสูง บริเวณสูญญากาศ หรือกระทั่งใต้น้ำ

สังเกตรายละเอียดที่ตามนุษย์มองไม่เห็น

                       สังเกตรายละเอียดที่ตามนุษย์มองไม่เห็น
อย่างที่พูดถึงไปบ้างในหัวข้อที่แล้วว่าตามนุษย์นั้นมีขีดจำกัดในการใช้งานทั้งในเรื่องของการประมาณการคาดการณ์และแม้แต่เรื่องของความละเอียดละออในการมองที่มนุษย์ภาคภูมิใจว่าเหนือกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆเองก็มีข้อจำกัด ตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นในที่ๆมีแสงสว่างมากหรือน้อยจนเกินไปได้ ไม่สามารถมองสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วหรือถี่จนเกินไป และแน่นอนว่าไม่สามารถมองสิ่งที่มีขนาดเล็กจนเกินไป ทำให้การสังเกตในกระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนนั้น สายตาของมนุษย์ไม่เพียงพอกับการสังเกต หรือบางครั้งผลการทดลองอาจเป็นอันตรายกับสายตาที่เฝ้าสังเกตอยู่ เช่นการทดลองทางฟิสิกส์ที่มีแสงจ้ามากๆ หรือมีอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็วมาก ตรงนี้เองที่ระบบตรวจสอบอัตโนมัติ และระบบประมวลผลสาระสนเทศที่มีประสิทธิภาพก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการจับการเคลื่อนไหวประมวลผล และแปลผล out come ออกมาเป็นสาระสนเทศที่มนุษย์รับรู้ได้ เช่นแบบจำลองเสมือนจริง หรือกราฟรูปแบบต่างๆ

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การเปรียบเทียบความแตกต่าง

การเปรียบเทียบความแตกต่าง
             แม้อยาตนทั้ง5ของมนุษย์จะมีประสิทธิภาพมากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ แต่สิ่งที่มาพร้อมกับอยาตนะเหล่านี้ก็คือความรู้สึกนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับการทำงานอันซับซ้อนของสมอง แต่ที่แน่ๆคือความรู้สึกของมนุษย์นั้นห่างไกลจากสิ่งที่เรียกว่าความแม่นยำมาก (สิ่งที่มนุษย์คาดการณ์ด้วยตา หู จมูกมักจะมีความเบี่ยงเบน หรือความผิดพลาดอยู่เสมอๆ) การใช้เพียงประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสารในการทดลอง ทั้งในแง่ของคุณสมบัติ อย่างสี ฟอง มวล หรือในแง่ของปริมาณอย่างปริมาตร หรือระดับของๆเหลว จึงมีโอกาสผิดพลาดสูงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กๆน้อยๆ เช่นสารมีสีเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย หรือมีปริมาณเพิ่มเพียงเล็กน้อย เป็นต้น ระบบตรวจสอบอัตโนมัติจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการทดลองที่มีรายละเอียดสูงที่ผลการทดลองอาจแปรผันด้วยตัวแปรเพียงเล็กน้อย เช่นการทดลองที่มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของสารอย่างละเอียดละออ หรือมีเรื่องระดับของของเหลวเข้ามาเกี่ยวข้อง

การจับตาดูหลายๆจุดพร้อมกัน

การจับตาดูหลายๆจุดพร้อมกัน
          ขั้นตอนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ หรือที่เรียกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานง่ายๆ 4 ข้อ คือ การตั้งคำถาม ตั้งสมมุติฐาน สังเกตผล และพิสูจน์สมมุติฐาน ทั้งนี้การทดลองที่มีพลวัตรรวดเร็ว หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆจุดพร้อมกันจะไม่สามารถสรุปผลการทดลองได้เลยเพราะลำพังสายตามนุษย์ไม่อาจสังเกตทุกจุดได้พร้อมๆกัน ระบบตรวจสอบอัตโนมัติจึงมีความจำเป็นอย่างมากกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากช่วยให้เราสามารถตรวจสอบจุดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดปฏิกริยาในระหว่างการทดลองได้หลายๆจุดพร้อมกัน ระบบตรวจสอบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงๆ สามารถทุ่นงานนักวิทยาศาสตร์หรือนักศึกษาวิจัยได้ทีเดียวหลายๆคน จากที่เคยต้องใช้นักวิจัยหลายคนสังเกตความเปลียแปลงในแต่ละจุด ถ้าเราติดระบบตรวจสอบอัตโนมัติเราอาจมีคนนั่งเฝ้าเพียงแค่คนเดียวก็เพียงพอกับการดูแลการทดลอง หรือการศึกษาวิจัยทั้งระบบแล้ว นอกจากนี้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติยังสามารถบันทึกสิ่งที่สังเกตไว้ได้ นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

จุดขายของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

จุดขายของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

                มนุษย์เป็นประดิษฐ์กรรมที่ยิ่งใหญ่และมหัศจรรย์ของธรรมชาติ แต่เรื่องน่าเศร้าที่ติดมากับความสามารถอันยิ่งใหญ่ที่ธรรมชาติมอบให้ก็คือความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่สิ้นสุด ลำพังสิ่งที่อายตนทั้ง 5 รับรู้ได้อาจเป็นเรื่องที่น่าค้นพบ น่าตื่นเต้นในช่วงหนึ่ง แต่เมื่อผ่านไปหลายๆชั่วอายุคน เรื่องเหล่านี้ก็จะค่อยๆทุเลาความน่าสนใจลง เรื่อยๆและมีขอบเขตที่สิ้นสุด ความพยายามของมนุษย์ในการก้าวข้ามข้อจำกัดของอายตนะทั้ง 5 เพื่อค้นพบพื้นที่ทางความรู้ใหม่ๆจึงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุับัน ระบบตรวจสอบอัตโนมัติเองก็เป็นหนึ่งในผลผลิตของความพยายามที่ว่านี้ด้วย ระบบตรวจสอบอัตโนมัติพูดง่ายๆคือเป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อลบจุดอ่อนของสายตามนุษย์ ทั้งคุณภาพประสิทธิภาพของการมอง ความไวต่อสิ่งเร้า ความแม่นยำ และสามารถเฝ้ามองหรือบันทึกภาพได้หลายๆจุดพร้อมกันซึ่งลำพังเพียง 2 ตา ไม่สามารถเฝ้ามองได้ทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2556

การตรวจสอบลายนิ้วมือในการทำ passport

การตรวจสอบลายนิ้วมือในการทำ passport

         ระบบตรวจสอบอัตโนมัติเพื่อตรวจลายนิ้วมือในงานเกี่ยวกับราชการก็มีให้เห็นทั่วไปก็คือการทำ passport เพราะต้องมีการตรวจสอบลายนิ้วมือที่immigration ก่อนการเข้าออกแต่ละประเทศ เพราะลายนิ้วมือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่หน้าตาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เพราะมีการทำศัลยกรรม รวมถึงชื่อก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือปลอมแปลงได้ เพราะขนาด passport ยังมีการปลอมแปลงได้ แต่สิ่งเดียวที่มีการปลอมแปลงลำบากก็คือการปลอมแปลงทางด้านลายนิ้วมือ ซึ่งจะเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลซึ่งกันการหลบหนีข้ามแดด หรือกันการหลบหนีออกนอกประเทศ ซึ่งการตรวจสอบลายนิ้วมือในการเดินทางไปต่างประเทศนั้นจะมีการตรวจสอบฐานข้อมูลของผู้ก่อการร้ายที่แต่ละประเทศต้องการตัวไว้เพื่อดำเนินคดีต่างๆ ทั้งคดีผู้ร้ายข้ามแดน คดีก่อการร้ายระหว่างประเทศ หากมีการจับตัวได้ขณะที่หลบหนีและมีการทำสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแล้วนั้นก็จะเป็นการร่วมมือในการจับผู้ร้ายซึ่งจะเป็นผลดีกว่าการปล่อยให้มีการหลบหนีออกนอกประเทศไปได้

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

การใช้ระบบลายนิ้วมือเข้าคอมพิวเตอร์

การใช้ระบบลายนิ้วมือเข้าคอมพิวเตอร์

            การใช้ระบบตรวจสอบลายนิ้วมือในการเข้าคอมพิวเตอร์นั้น ถือว่าเป็นระบบตรวจสอบอัตโนมัติว่าผู้ที่เข้าเครื่องนั้นเป็นใครเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาติให้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นี้หรือไม่หากไม่ใช่ก็จะไม่อนุญาติให้ log on เข้าได้ เพราะคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมีข้อมูลสำคัญของบริษัทอยู่ เช่นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่บริษัทคิดค้นขึ้นมาเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาดจากคู่แข่ง หากข้อมูลนี้รั่วไหลไปสู่บริษัทคู่แข่งจะทำให้คู่แข่งเร่งผลิตสินค้าขึ้นมาเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งของตลาดเข้าไปแทนทำให้บริษัทเสียโอกาส และอีกทั้งยังเป็นการป้องกันข้อมูลอีกชั้นหนึ่งกรณีที่คอมพิวเตอร์ถูกขโมยไปก็ไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้หากลายนิ้วมือไม่ตรงกันกับทีระบุไว้กับคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้อาจจถูกขโมยเนื่องจากทิ้งคอมพิวเตอร์ไว้ในรถแล้วรถถูกทุบเพื่อจะขโมยเอาสิ่งของมีค่าไปขายเป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน notebook ก็มีระบบการตรวจสอบลายนิ้วมือแทนการใช้ password ในการเข้าเครื่องแล้วเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลรั่วไหล

การใช้ตรวจสอบรายนิ้วมือในการเข้าออกประตู

การใช้ตรวจสอบรายนิ้วมือในการเข้าออกประตู

             การใช้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติตรวจสอบลายนิ้วมือในการเข้าออกประตูนั้นส่วนมากมักจะนิยมใช้กับชั้นที่มีความสำคัญของบริษัท เช่นชั้นที่มีข้อมูลสำคัญขององค์กรต้องให้เข้าได้เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น พนักงานคนอื่นๆ ของแผนกอื่นไม่ควรจะได้สิทธิ์หรืออนุญาติในการผ่านเข้าออกชั้นนั้น เพราะเกรงว่าจะเป็นการนำข้อมูลของบริษัทไปเผยแพร่หรือไปขายกับบริษัทคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้บริษัทสูญเสียความได้เปรียบทางธุรกิจ และส่งผลต่อกำไรของบริษัทดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ดังกล่าวควรจะมีการป้องกันไว้เสียแต่เนิ่นๆ หรือการที่ต้องสแกนลายนิ้วมือนั้นใช้กับชั้นที่ประธานบริษัททำงานอยู่เพราะประธานอาจจะโดนทำร้ายจากคนของคู่แข่งหรือคนที่เสียผลประโยชน์ได้หากไม่มีการป้องกันไว้ ดังนั้นการเข้าออกประตูนั้นเหมือนกับเป็นการบอกว่าใครบ้างเป็นผู้ที่ผ่านเข้าออกประตูนี้ เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาตรวจสอบย้อนหลังเพื่อตรวจสอบหาผู้กระทำผิดได้

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

การตรวจสอบลายนิ้วมือในการลงเวลาทำงาน

การตรวจสอบลายนิ้วมือในการลงเวลาทำงาน

         หลากหลายบริษัทในระบบการตรวจสอบลายนิ้วมือมาใช้ในการลงเวลาทำงาน เนื่องจากระบบตรวจสอบอัตโนมัตินี้จะเป็นการระบุเวลาที่แน่นอนของแต่ละบุคคลในการมาทำงาน ในการเข้างาน เพื่อที่จะมาคำนวณเงินเดือนในเดือนนั้นๆโดยการหักวันขาด วันลา หรือวันมาสายตามที่เป็นจริงออก ซึ่งมีความเเม่นยำและเที่ยงตรงกว่าการใช้ระบบการใช้บัตรตอก หรือการลงรายชื่อซึ่งมักจะมีปัญหาเรื่องตอกบัตรแทนกัน ให้เพื่อนตอกบัตรเช้าก่อนเวลางานแต่ตัวจริงนั้นมาหลังเวลาเข้างานทำให้เป็นการโกงเวลาบริษัท รวมทั้งการโกงวันลาอีกด้วย อีกทั้งการใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือนั้นเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียวไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่องการทำบัตรไว้ตอกเวลา หรือการทำบัตรพนักงานติดแถบแม่เหล็กเพื่อรูดบัตรซึ่งเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่อง เพราะค่าบัตรและค่ากระดาษที่เอาไว้บันทึกเวลาเปลี่ยนไปตามราคาของวัตถุดิบตามท้องตลาดซึ่งจะไม่มีวันมีราคาถูกจะมีแต่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ และบางครั้งเมื่อรวมๆ แล้วอาจจะมีราคาแพงกว่าการใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือก็ได้

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป เริ่มมีมานานแล้วและจากการศึกษาในปัจจุบันพัฒนาการของกล้องจุลทรรศน์ กล้องไมโครสโคป สูงขึ้นจึงสรุปได้ว่าอนุภาคไวรัสประกอบด้วย DNA หรือ RNA ที่มีปลอกโปรตีน capsid ห่อหุ้ม และยังพบลิปิด คาร์โบไฮเดรต น้ำ แร่ธาตุ และสารประกอบอื่นๆ อีกเล็กน้อย
1.โปรตีน พบในส่วนที่เป็น capsid และ envelope ซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของอนุภาค
2.ลิปิด พบใน envelope ซึ่งมีจำนวนแตกต่างกันไปและพบมีหลายชนิดแตกต่างกัน เช่น phospholipid, glycolipid เป็นต้น
3.คาร์โบไฮเดรต จะเป็นส่วนประกอบอยู่ในไวรัสทุกชนิด ได้แก่ น้ำตาลไรโบส ใน RNA หรือน้ำตาลดีออกซีไรโบสใน DNA 
4.Polyamine เป็นสารที่พบในไวรัสพืชและ bacteriophage 
5.แร่ธาตุ ที่พบในไวรัสมีทั้งชนิดและปริมาณแตกต่างกันไป 
6.น้ำ อนุภาคไวรัสจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบเช่นเดียวเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั่วๆไป
7.เอนไซม์ เนื่องจากอนุภาคไวรัสมีเอนไซม์อยู่น้อยชนิดจึงไม่เพียงพอสำหรับใช้ในการเจริญและการทวีจำนวนของตนเอง ดังนั้นจึงต้องอาศัยกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เอนไซม์ที่พบจะแตกต่างกันไปในไวรัสแต่ละชนิด

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ช่วยให้รู้จักโครงสร้างของไวรัส

กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ช่วยให้รู้จักโครงสร้างของไวรัส
จากการศึกษาโครงสร้างของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 
พบว่าอนุภาคของไวรัส ประกอบด้วยกรดนิวคลีอิคอยู่ภายในและมีปลอกโปรตีน capsid ห่อหุ้มอยู่ภายนอก ในไวรัสบางชนิดอาจมี envelope ห่อหุ้ม capsid อีกชั้นหนึ่ง ทำให้อนุภาคใหญ่ขึ้น
1.capsid เป็นโครงสร้างโปรตีนของอนุภาคไวรัสประกอบด้วยหน่วยย่อย เรียกว่า capsomere ในไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกับมนุษย์และสัตว์จะมี capsid รวมตัวกับกรดนิวคลีอิคอย่างซับซ้อน เรียกว่า core หรือ nucleocapsid  Capsid ช่วยป้องกันกรดนิวคลีอิค จากการถูกทำลายด้วยสภาพการณ์ต่างๆจากเซลล์ผู้ให้อาศัย 
2.กรดนิวคลีอิค ที่พบในไวรัสจะมีเฉพาะ DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยที่พบในอนุภาคไวรัสจะมีมีปริมาณแตกต่างกันไป รวมทั้งรูปร่างจะแตกต่างกันด้วย (แท่งและวงแหวน) 
3.envelope ในไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกับคนและสัตว์ส่วนมากจะมีโครงสร้างที่เป็นเมมเบรนบางๆ ห่อหุ้มโปรตีนอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า envelope จะเป็นที่อยู่ของ spike หลายชนิด ที่มีผลต่อการทำลายเซลล์ของผู้ให้อาศัย เช่น hemagglutinin spike ใช้ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงตกตะกอน เป็นต้น
หากสนใจ กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป เพื่องานค้นคว้าวิจัย เลือกซื้อง่ายๆผ่านทางเว็บไซต์ออนไลน์

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคเล็ปโตสไปโรซิส

โรคเล็ปโตสไปโรซิส
โรคเล็ปโตสไปโรซิสหรือที่เรียกกันสั้นๆว่าโรคฉี่หนูเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คนไม่ใช่เฉพาะจากหนูแต่สัตว์ที่สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคชนิดนี้สู่คนได้มีหลายชนิด เช่น สุนัข โค กระบือ สุกร เป็นต้น และมักจะระบาดในฤดูฝนมากกว่าฤดูอื่นเนื่องจากว่าฤดูฝนน้ำจะขังในหลายพื้นที่ ส่วนฤดูอื่นฝนจะตกน้อยและน้ำไม่ค่อยขัง เชื้่อโรคชนิดนี้เมื่อนำเอาไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากๆ จะพบว่าการติดเชื้อมาจากแบคทีเรียและมีความสามารถดำรงชีวิตได้นานเป็นเวลาหลายเดือนเมื่ออยู่ภายในสภาวะเปียกชื้น ผู้ติดเชื้อมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หนาวสั่น อาเจียน และจะปวดน่อง หลัง ปวดศรีษะมาก แต่เชื้อโรคแบบนี้จะติดต่อจากคนสู่คนได้น้อยมาก หากไม่ได้สัมผัสกับปัสสาวะของผู้ป่วย เช่นการกินอาหารที่มีน้ำเจือปนด้วยเชื้อโรค ควรจะแก้ไขโดยการกำจัดหนู หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อน หากอยู่ในระยะเริ่มต้นการรักษาจะไม่ยาก รักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงของอาการ

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

รู้จักสัณฐานวิทยาของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จักสัณฐานวิทยาของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป
จากการศึกษาสัณฐานวิทยาของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป พบว่า ไวรัสเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีองค์ประกอบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเจริญและทวีจำนวนอย่างสมบูรณ์ เช่น ไม่มี organelles ต่างๆ ไม่มีระบบเอนไซม์สำหรับการสังเคราะห์โปรตีนและกรดนิวคลีอิค ตลอดจนไม่มีระบบการสร้าง ATP แต่จะมีเอนไซม์บางชนิดที่มีความสำคัญสำหรับจุดเริ่มต้นในวัฏจักรของการเจริญ ดังนั้นจึงเรียกโครงสร้างของไวรัสว่าอนุภาคหรือไวริออน (virion) 
-รูปร่างของไวรัส ที่ทำให้เกิดโรคกับพืชและสัตว์ รวมทั้ง bacteriophage สามารถจัดจำแนกรูปร่างได้เป็น 4 ชนิดคือ
1.helical เป็นไวรัสที่มีรูปร่างเป็นท่อนตรงหรือโค้งงอ หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เช่น TMV,cymbiodium mosaic virus, mump virus เป็นต้น 
2.icosahedral เป็นไวรัสที่มีรูปร่างแบบลูกบาศก์และมี 20 เหลี่ยม เช่น poliovirus, enterovirus, reovirus, herpesvirus เป็นต้น 
3.binal เป็นไวรัสที่มีรูปร่างคล้ายลูกอ๊อด แบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนหัวและส่วนหาง ได้แก่ bacteriophage
4.complex เป็นไวรัสที่มีรูปร่างที่ซับซ้อน เช่น vesicular stomatitis virus, vaccinia virus เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

การรักษาโรคของเม็ดเลือดแดง

การรักษาโรคของเม็ดเลือดแดง
โรคเม็ดเลือดแดงเป็นโรคที่เกิดจากพันธุกรรมที่ถูกถ่ายทอดมาจากทางกรรมพันธ์ทางฝั่งพ่อหรือทางฝั่งแม่แล้วแต่ว่าใครเป็นพาหะ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอาการผิดปกติ เช่นเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวหรือรูปเคียว ไม่เป็นเม็ดเต็ม ส่วนอาการที่เกิดกับคนที่เป็นโรคนี้จะเกิดในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย จะสามารถปรับสภาพร่างกายได้ดีกว่าคนที่ไม่เป็นโรค เช่น ในพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยเยอะ หรือบนภูเขาสูงๆ ซึ่งเมื่อไปทำการตรวจโรคจะเห็นอาการของเม็ดเลือดแดงผิดปกติผ่านทางกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคปประเภทอิเล็กตรอนที่ทำให้เห็นลักษณะของเม็ดเลือดแดงปกติที่อาศัยอยู่ร่วมกับเม็ดเลือดแดงที่เป็นรูปครึ่งเสี้ยว อาการของคนเป็นโรคท้ายสุดจะก่อให้เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องใช้การทานยารักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการส่งผ่านโรคนี้ไปสู่รุ่นลูก ควรจะทำการตรวจเลือดก่อนการแต่งงานเพื่อจะได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หากต้องการจะมีบุตร

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ศึกษาความหมายของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

ศึกษาความหมายของไวรัส ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป
คำว่าไวรัสมาจากภาษาละติน หมายถึง สารที่เป็นพิษ ในสมัยโรมันยุคแรกๆ ได้มีการบันทึกว่าสารพิษบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้การส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 
ปี ค.ศ.1948 Holmes มีการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ให้ความหมายใหม่ว่า ไวรัส หมายถึง สิ่งที่ทำให้เกิดโรคที่มีขนาดเล็ก สามารถผ่านเครื่องกรองแบคทีเรียได้และเจริญเฉพาะในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
ปี ค.ศ. 1950 Bowden ให้ความหมายว่า ไวรัส หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรคและมีการดำรงชีวิตแบบปรสิตที่แท้จริง มีขนาดเล็กมาก ส่วนมากมีขนาดเล็กกว่า 200 มิลลิไมครอน
ปี ค.ศ. 1959 Luria ให้ความหมายว่า ไวรัส หมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก เจริญและทวีจำนวนในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น
ปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับไวรัสได้เจริญก้าวหน้าอย่างมาก รวมทั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีของกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป จึงได้ให้ความหมายของไวรัสที่สรุปได้ว่า 
ไวรัสหมายถึง สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นอนุภาค มีกรดนิวคลีอิคเป็น DNA หรือ RNA อย่างใดอย่างหนึ่ง การสืบพันธุ์ภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยจะใช้สารประกอบต่างๆ ภายในเซลล์เพื่อการสังเคราะห์ไวรัสใหม่และถ่ายทอดไปสู่เซลล์อื่นๆได้

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้จักโปรโตซัวในดิน


รู้จักโปรโตซัวในดิน
         
           การศึกษาโปรโตซัวในดิน ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือสำคัญ โปรโตซัว เป็นจุลินทรีย์ในดินชนิดหนึ่งที่มีการศึกษาวิจัยถึงคุณสมบัติเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร โปรโตซัวจะพบมากในดินที่ชื้นและบริเวณผิวหน้าดิน เนื่องจากต้องการออกซิเจนในการหายใจ โปรโตซัวที่พบส่วนมากเป็นพวกที่มีแฟลกเจลลาและอมีบา ส่วนพวกที่มีซีเลียมีพบน้อยมากหรือไม่พบเลย

           จำนวนที่พบแตกต่างกันไปตามสภาพของดินแต่ละชนิด มีทั้งชนิดที่ใช้อินทรียสารและกินแบคทีเรียเป็นอาหาร มีผู้ให้ความเห็นว่าการกินแบคทีเรียของโปรโตซัวในดินก็เพื่อรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในดินตัวอย่างของสกุลโปรโตซัวที่พบในดิน ได้แก่ Allantion ,Bodo ,Cercomonas Entosiphon ,Amoeba ,Biomyxa ,Balantiophorus ,Colpidium,Calpoda,Oxytricha,Pleurotricha,Voticella เป็นต้น
         
           การศึกษาเกี่ยวกับโปรโตซัวชนิดต่างนั้นสามารถทำได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง แต่ถ้าต้องการศึกษาถึงรายละเอียดของโครงสร้างภายในอาจต้องอาศัยพลังของกล้องจุลทรรศน์ประเภทอิเลคตรอนในการทำงาน



วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้จักฟังไจในดิน ผ่านกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จักฟังไจในดิน ผ่านกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

             ฟังไจจุลินทรีย์ในดินที่พบมากพอๆกับแบคทีเรีย และต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ในการศึกษารูปร่าง รายละเอียดและการจำแนกชนิด ฟังไจที่พบในดินมีหลายร้อยชนิด จะอาศัยอยู่บริเวณผิวหน้าดิน เพราะเจริญได้ดีในที่มีออกซิเจน ฟังไจที่พบอาจอยู่ในรูปของสปอร์หรือไมซีเลียม ฟังไจที่พบในดินมีทั้ง เห็ด ราและยีสต์ ราได้แก่ Mucor,Aspergillus,Alternaria เป็นต้น บทบาทของฟังไจในดินจะช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินที่มีโมเลกุลซับซ้อน เช่น เซลลูโลส ลิกนิน เป็นต้น การย่อยสลายจะเกิดอย่างรวดเร็วเมื่อมีการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ผลของการย่อยสลายเป็นการเพิ่มสารประกอบคาร์บอนและไนโตรเจนในดินและช่วยให้ดินมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดีขึ้น ฟังไจเป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการสังเคราะห์สารต่างๆได้ดี กล่าวคือ สามารถเปลี่ยนคาร์บอนที่เป็นส่วนประกอบของสารอินทรียสารในดินให้เป็นคาร์บอนในองค์ประกอบของเซลล์ได้ดีกว่าจุลินทรีย์อื่นๆ ฟังไจในดินมีทั้งที่เป็นปรสิต บางชนิดมีการดำรงชีวิตแบบผู้ล่าเหยื่อ (predator) เหยื่อส่วนมากเป็นโปรโตซัว

รู้จักสาหร่ายในดิน


รู้จักสาหร่ายในดิน 

            สาหร่าย เป็นจุลินทรีย์ในดินชนิดหนึ่ง ที่เราสามารถส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป สาหร่ายสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีพอสมควร จึงเจริญได้ดีในสภาพแวดล้อมต่างๆทั้งในอากาศ น้ำและดิน สาหร่ายที่พบในดินที่สำคัญ ได้แก่ ประเภทแรกสาหร่ายสีเขียวสกุล Ankistodesmus,Chlamydomonas,Chlorella,Chlorococcum,Protococcus เป็นต้น ประเภทที่สองสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ได้แก่ สกุล nabaena , Calothrix, Chroococcus, Cylindrospermum เป็นต้น สาหร่ายในดินมีจำนวนน้อยกว่าแบคทีเรียและฟังไจ พบมากบริเวณผิวหน้าดินที่ชื้นเพราะต้องการน้ำและแสงสว่างในการสังเคราะห์แสง ส่วนดินชั้นล่างจะพบสาหร่ายน้อยมากและพบในระยะที่เป็นสปอร์หรือถ้าเป็นเซลล์ปกติจะไม่มีคลอโรฟิลล์ ในดินที่สมบูรณ์จะพบสาหร่ายน้อยมาก เพราะกิจกรรมทางด้านชีวเคมีของสาหร่ายถูกขัดขวางจากแบคทีเรียและฟังไจ เนื่องจากแบคทีเรียและฟังไจแบ่งเซลล์ได้รวดเร็วกว่า จึงแย่งสารอาหารและแร่ธาตุต่างๆ บางครั้งอาจขับสารพิษบางชนิดออกมาอีกด้วย ทำให้สาหร่ายเจริญได้ช้าหรือไม่เจริญ

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติและระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติและระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

            ตามปกติแล้วการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถาบันศึกษาวิจัย อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติตัวเดียวโดดๆนั้นไม่สามารถทำงานได้ จำเป็นต้องเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกันจนกลายเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถควบคุม ตรวจสอบดูแล หรือแม้กระทั่งบันทึกได้ เราเรียกทั้งหมดนี้ว่าระบบตรวจสอบอัตโนมัติ หน้าที่ของระบบนี้หลักๆแล้วก็คือเชื่อมโยงอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติตัวต่างๆเข้าด้วยกัน โดยมีตัวกลางคือระบบที่รองรับฐานข้อมูล และสามารถจัดการ หรือปรับแต่งการทำงานของอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติได้ทั้งหมด ยิ่งเราต้องการใช้งานอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติมากชิ้นเพียงใด ระบบที่เราจะต้องวางรองรับก็ต้องมีขนาดใหญ่และครอบคลุมมากเพียงนั้น โดยผู้ใช้งานจะสามารถควบคุมดูแล ปรับแต่ง และใช้งานได้มากเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าระบบที่วางไว้มีฟีเจอร์การใช้งานครบครันและยืดหยุ่นเพียงใด เป็นภาระของผู้ออกแบบระบบตรวจสอบอัตโนมัติท้าทายว่าจะสามารถออกแบบระบบตรวจสอบอัตโนมัติได้ยืดหยุ่นโดนใจลูกค้าหรือไม่

การใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ


การใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ

             ประโยชน์ที่เด่นชัดที่สุดของระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็คือการ "Monitor" หรือการเฝ้าดูบางสิ่งอย่างใกล้ชิดชนิดนาทีต่อนาที เพื่อจะได้สังเกตุเห็นการทำงานอย่างใกล้ชิดและรู้ได้ทันทีเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที การนำอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติไปประยุกต์ใช้งานในเชิงปฏิบัติจึงเน้นไปที่การตรวจสอบการทำงานของระบบที่ต้องการการเอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง และไม่ต้องการให้เกิดความผิดพลาด ชนิดที่ว่าแม้แต่ผมเส้นเดียว ตัวอย่างเช่น นำมาใช้ตรวจสอบการทำงานของการเปลี่ยนแปลงหรือการทำปฏิกริยาของสารในห้องทดลอง นำมาใช้สังเกตระดับการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของของเหลว นำมาใช้สังเกตการทำงานของระบบสายพานการผลิต ไปจนถึงการใช้ประโยชน์เพื่อการบันทึกภาพสำคัญต่างๆเก็บเป็น log ข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ด้วยความต่อเนื่องในการทำงาน และการแสดงรายละเอียดที่สามารถปรับได้จนถึงขีดสุด อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติจึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเปรียบเทียบความแตกต่างของของสองสิ่ง หรือความเปลี่ยนแปลงของของสิ่งเดียวกันในห้วงเวลาที่ต่างกัน

อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติคืออะไร



          ในสายงานการผลิตทางอุตสาหกรรม งานศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หรือทางการแพทย์ ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยๆอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงกับทั้งกระบวนการผลิต หรือทำให้สินค้าหรือผลการวิจัยที่ออกมาผิดพลาดทั้งชิ้นเลยก็ได้ ผู้รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องทำทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นแม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆก็ตาม ด้วยเหตุนี้ระบบตรวจสอบอัตโนมัติจึงเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบว่าเจอข้อผิดพลาดตรงส่วนไหนบ้าง เพื่อจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้น อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติที่นิยมใช้กันก็คือระบบกล้องวงจรปิด หรือกล้องสังเกตการณ์ที่สามารถติดตามสังเกตุความเป็นไปได้หลายๆจุดพร้อมๆกัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการติดตามเหตุการณ์แบบ Real time และการสังเกตเปรียบเทียบระหว่างจุดหนึ่งกับอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องเสียเงินจ้าง QC หลายคนคอยตามตรวจสอบคุณภาพ ถ้าใช้ระบบนี้ QC เพียงคนเดียวก็เพียงพอแล้ว

รู้จักแบคทีเรียในดิน


รู้จักแบคทีเรียในดิน

             การศึกษาจุลชีววิทยาของดิน กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ถือว่ามีความสำคัญมาก เพื่อใช้ศึกษาชนิดของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ชนิดแรกที่เราจะไปส่องดูกันด้วยกล้องจุลทรรศน์ เรียกว่า แบคทีเรีย แบคทีเรียเป็นจุลินทรีย์ที่พบมากที่สุดในดินทั้งชนิดและจำนวน มีทั้งพวกที่เป็น autotroph และ heterotroph แต่จะมีพวก heterotroph มากที่สุด แบคทีเรียเหล่านี้เจริญได้ดีทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจน หรือมีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย มีทั้งพวกที่สร้างสปอร์และไม่สร้างสปอร์ เป็นต้น แบคทีเรียในดินจะพบอยู่เป็นอิสระได้น้อยมาก เพราะเซลล์จะยึดเกาะกับอนุภาคของดินหรือฮิวมัสเอาไว้ แบคทีเรียบางชนิดยังสร้างสารเมือกมาช่วยยึดเกาะอีกด้วย ที่พบในดินจะมีชนิดและปริมาณแตกต่างกันไปตามอินทรียสารในดิน เช่น ในดินที่มีการเพาะปลูกพืชจะมีแบคทีเรียมากกว่าดินที่ไม่มีการเพาะปลูก แบคทีเรียที่พบในดินส่วนมากได้แก่ สกุล Agrobacterium ,Bacillus ,Clostridium ,Flavobacterium ,Pseudomonas,Sarcina และ Xanthomonas

วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

การใช้งานด้านการระบุตัวอาชญากร

การใช้งานด้านการระบุตัวอาชญากร

            การใช้งานระบบตรวจสอบอัตโนมัติเพื่อตรวจลายนิ้วมือนั้นมีความสำคัญกับองค์กรตำรวจในการใช้งานด้านการระบุตัวอาชญากร เนื่องจากเวลามีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นเช่นมีการฆาตกรรม มีการปล้นร้านทอง หรือแม้กระทั่งมีการขโมยรถ ทางตำรวจต้องเก็บลายนิ้วมือในสถานที่เกิดเหตุเพื่อเอาไปตรวจสอบหาผู้ต้องสงสัยในคดีที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เมื่อได้ลายนิ้วมือในที่เกิดเหตุแล้วนั้นทางตำรวจก็จะเอาไปตรวจสอบขั้นต้นกับลายนิ้วมืออาชญากรที่ทางตำรวจได้เก็บรวบรวมเอาไว้ในฐานข้อมูลของตำรวจ และนอกจากนั้นยังเป็นแหล่งข้อมูลให้กับองค์กรหรือบริษัทเอกชนที่ได้ยื่นเรื่องมาขอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการทำผิดกฏหมายของผู้ที่มายื่นสมัครงานกับองค์กรหรือบริษัทเอกชนเพื่อที่จะเป็นพนักงานของบริษัท ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลขั้นต้นในการคัดเลือกบุคคลที่มาสมัครงานเบื้องต้น ดีกว่าไม่มีการสืบประวัติผู้สมัครงานปล่อยให้บุคคลที่มีประวัติอาชญากรเข้ามาทำงานในบริษัท ซึ่งจะนำพาความเดือดร้อนมาให้บริษัทและเพื่อนร่วมงานในองค์กรได้

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

รู้จักไวรัสในดิน

รู้จักไวรัสในดิน 

                 คุณสามารถศึกษาไวรัสในดิน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ไวรัสที่พบในดินเป็นไวรัสที่ทำลายแบคทีเรียมากกว่าไวรัสของพืชและสัตว์ ซึ่งเรียกว่า bacteriophage บทบาทของไวรัสในดินยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเป็นเช่นเดียวกับโปรโตซัว โดยช่วยกระตุ้นกิจกรรมของแบคทีเรีย เพราะ bacteriophage ทำลายแบคทีเรียเป็นผลให้การย่อยสลายอินทรียสารของแบคทีเรียเป็นไปอย่างรวดเร็ว แบคทีเรียที่ถูกทำลายโดยไวรัสได้ดี ได้แก่ Rhizobium ,Azotobacter ,Bacillus ,Clostridium ,Enterobacter ,Arthrobacter เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบไวรัสทำลายสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เรียกว่า Cyanophage สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่ถูกทำลายได้ดี เช่น Anabaena,Anacystis,Cylindrospermum,Microcystis เป็นต้น ไวรัสยังสามารถเป็นปรสิตในฟังไจได้ เช่นในฟังไจสกุล Aspergillus,Boletus,Cepharosporium,Mucor,Penicillium เป็นต้น หากท่านสนใจหาซื้อ กล้องจุลทรรศน์ และกล้องไมโครสโคปคุณภาพสำหรับงานวิจัย ท่านสามารถหาเลือกซื้อได้จากเว็บไซต์ของผู้ผลิตคุณภาพ

ประวัติกล้องจุลทรรศน์

ประวัติกล้องจุลทรรศน์

              นับจากอดีตนักวิทยาศาสตร์ในประเทศต่างๆ ได้ใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือ ที่เรียกกันว่า กล้องไมโครสโคป ในการคิดค้น ค้นพบโลกอีกด้านหนึ่งไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา แบคทีเรีย เชื้อไวรัสต่างๆ ที่มีขนาดเล็กจนตาเปล่าของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ เพราะเชื้อต่างๆ เหล่านั้นมีขนาดเล็กมากถึงขนาดไมครอน สายตาของมนุษย์นั้นสามารถมองเห็นสิ่งที่มีขนาดเล็กที่สุดไม่เกิน 1 มิลลิเมตรและหากวัตถุมีขนาดเล็กกว่านั้นสายตามนุษย์เราก็จะไม่สามารถมองเห็นได้ นอกจากนั้นการพัฒนากล้องจุลทรรศน์มาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้นักวิทยาศาสตร์เองนั้นสามารถมองเห็นกลไกการทำงานของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆได้อย่างถูกต้องกว่าการคาดเดาไปเอง กล้องจุลทรรศน์ริเริ่มประดิษฐ์จากการใช้เลนส์นูนเพียงอันเดียวของนักวิทยาศาสตร์ในการมองวัตถุที่มีขนาดเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็น เพื่อให้วัตถุนั้นขนาดใหญ่ขึ้น ในช่วงแรกๆเรียกเครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นเรียกว่า กล้องจุลทรรศน์เลนส์เดียวหรือเรียกสั้นๆว่าแว่นขยายนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

องค์ประกอบของระบบตรวจสอบอัตโนมัติ

            ขึ้นชื่อว่าเป็นระบบแล้ว คอนเซปต์ก็คือจะต้องมีส่วนย่อยๆหลายๆส่วนทำงานร่วมกันอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กัน ซึ่งอุปกรณ์ส่วนย่อยๆของระบบตรวจสอบอัตโนมัติก็คือ อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติชิ้นต่างๆนั่นเอง โดยมีส่วนเชื่อมโยงคือระบบจัดการที่สร้างมารองรับโดยเฉพาะ แต่ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว ระบบตรวจสอบอัตโนมัติยังมีส่วนประกอบอื่นๆที่จำเป็นอีกมาก เริ่มตั้งแต่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากระบบจัดการอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติต่อให้เจ๋ง หรือซับซ้อน ระดับเทพเจ้า ก็จะไร้ประโยชน์ทันทีเมื่อไม่มีฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพพอไว้ให้รัน นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังเป็นตัวประมวลรวบรวมข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติแต่ละตัวด้วย อย่างต่อมาคืออุปกรณ์สำหรับการวิเคราะห์และหรือตรวจจับข้อมูลต่างๆ เช่นอุปกรณ์พวก I/O Unit หรือ Sequencer ที่สามารถตรวจจับและบันทึกข้อมูลได้แบบ real time และสามารถจัดทำเป็นข้อมูลทางสถิติได้เป็นอย่างดีด้วย เหมาะอย่างยิ่งกับการบันทึกสถิติเพื่อการศึกษาวิจัย

ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติ

ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติ

              อุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติเองก็เหมือนอุปกรณ์ใช้งานอื่นๆ ที่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ต่างกันไปในแต่ละรุ่น ซึ่งความหลากหลายนี้ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไปอีกด้วย โดยเราอาจวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ และระบบตรวจสอบอัตโนมัติได้ในหลายๆมิติ สิ่งแรกที่ใช้วัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ตรวจสอบอัตโนมัติได้ก็คือ ความหลากหลายของฟีเจอร์การใช้งาน ระบบตรวจสอบอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพควรจะต้องมีฟีเจอร์ที่หลากหลายเพื่อความสะดวกและความยืดหยุ่นในการใช้งาน ทั้งงานตรวจสอบสภาพ งานเฝ้าสังเกต และงานเปรียบเทียบ ระบบซอฟท์แวร์ทีดีจะมีเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกได้หลากหลาย ด้านต่อมาคือเรื่องความแม่นยำของการทำงาน ระบบดรวจสอบอัตโนมัติที่ดีควรจะเก็บผลและแปลผลออกมาอย่างตรงไปตรงมาและแม่นยำมากที่สุด ถ้าอุปกรณ์ส่วนตรวจจับทำงานได้ดีแต่ระบบการแปลผลไม่แม่นยำ ผลที่ออกมาก็ย่อมผิดพลาด และด้านสุดท้ายก็คือด้านความรวดเร็ว กิจกรรมบางอย่างเวลาเพียงวินาทีเดียวเป็นเรื่องสำคัญมากการตรวจสอบและแปลผลแบบวินาทีต่อวินาทีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Bright field Microscopes

กล้องจุลทรรศน์ ชนิด Bright field Microscopes

          กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป อุปกรณ์สำหรับใช้มองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่าที่ตาเปล่าจะมองเห็น กล้องจุลทรรศน์ชนิด Bright field Microscopes จัดอยู่ในประเภทกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Optical Microscopes) ชนิดหนึ่ง หลักการทำงาน อาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์เรื่องการดูดกลืนแสงของวัตถุ (Absorbance) ที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดการ Contrast ของภาพช่วยให้สามารถวิเคราะห์และแยกส่วนประกอบของวัตถุได้ โดย condenser lens จะรวบรวมลำแสงจากแหล่งกำเนิดแสง(Light Source) ที่ผลิตลำแสงที่ตาเราสามารถมองเห็นได้ ไปตกยังวัตถุที่วางอยู่บน stage ส่วน objective lens รับแสงที่ผ่านออกจากวัตถุขยายเป็นภาพส่งต่อไปที่ ocular lens จะช่วยขยายภาพสุดท้ายให้มีขนาดใหญ่ตามกำลังขยายของ lens ไปตกบนจอ หรือ retina ของตาคน สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ควรใช้กล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้ เนื่องจากเหมาะสำหรับใช้ส่องมองวัตถุที่มีลักษณะบางหรือโปร่งแสง เช่น เนื้อเยื่อบางๆ อย่างเนื้อเยื่อพืช หรือเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เป็นต้น