ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

Robert hooke เมื่อกล้องจุลทรรศน์ใช้สะดวกขึ้น

Robert hooke เมื่อกล้องจุลทรรศน์ใช้สะดวกขึ้น

             ปัญหาการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ในยุคแรกๆนอกจากจะเป็นเรื่องของแสงจากภายนอกที่เข้ามารบกวนการมองวัตถุแล้ว ยังมีเรื่องของความยุ่งยากที่เกิดจากปัญหาทางการออกแบบสถาปัตยกรรมของตัวกล้องด้วย เนื่องจากตัวกล้องในช่วงแรกมีลักษณะโครงสร้างที่ประกอบขึ้นอย่างง่ายๆ การอำนวยความสะดวก และการประยุกต์ใช้งานจึงเป็นเรื่องที่ผู้ใช้ต้องบริการตนเอง เช่น เลนซ์ของกล้องผู้ใช้งานจะต้องถือและปรับโฟกัสด้วยมือ (OTZ) ส่งผลให้กล้องจุลทรรศน์ยุคแรกใช้งาน และดูแลรักษาค่อนข้างยาก เป็นบุญของพวกเราที่ตาคนนี้เกิดมาช่วยให้ตอนเรียนวิทยาศาสตร์เราไม่ต้องทำอะไรยุ่งยากอย่างที่กล่าวไป เขาผู้ที่กำลังจะกล่าวถึงนี้ก็คือ Robert Hooke นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ (คศ. 1635-1703) แม้เขาจะไม่ได้เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ชนิดใหม่หรือเพิ่มกำลังขยายให้กับกล้องจนหน้าตกใจ แต่สิ่งที่เขาให้ไว้กับอนุชนรุ่นหลังก็คือความสะดวกที่มากขึ้นในการใช้งานกล้องจุลทรรศน์ เนื่องจากเขาเป็นผู้ประดิษฐ์ลำกล้องทรงกระบอก ซึ่งมีส่วนช่วยสำคัญในการป้องกันแสงภายนอก และช่วยให้เลนส์ซ้อนกันโดยไม่ต้องถือเอาไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น