ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

กล้องจุลทรรศน์ การเบิกเนตรทางวิทยาศาสตร์

กล้องจุลทรรศน์ การเบิกเนตรทางวิทยาศาสตร์       

               สายตามนุษย์ถือได้ว่าเป็นประดิษฐ์กรรมมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่ธรรมชาติรังสรรขึ้นมาบนโลก ด้วยลักษณะการทำงานสอดคล้องกันอย่างลงตัว ระหว่าง เรติน่า กระจกตา ตาดำ ตาขาว และโพรงเบ้าตาทำให้ตามนุษย์มีสมรรถนะการมองเห็นที่เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตในกลุ่มเลี้ยงลูกด้วยนมด้วยกันมาก ทั้งสามารถมองเห็นด้วยขอบเขตสายตาถึง 180 องศาทางด้านหน้า รับภาพสีได้อย่างสมจริง และไวต่อความเคลื่อนไหวหรือสิ่งเร้า (ซึ่งส่งผลต่อการตอบสนอง) แต่ก็ใช่ว่าตาของมนุษย์จะเป็นสิ่งที่สมบูรณ์แบบที่สุดในการมองเห็น ตาของมนุษย์ไม่สามารถจับการเคลื่อนไหวที่เร็วมากเกินไปหรือถี่มากเกินไปได้ นอกจากนี้สิ่งที่มีขนาดเล็กมากๆ หรือรายละเอียดของวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆมนุษย์ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ วิทยาศาสตร์ในช่วงแรกจึงเติบโตในวงแคบๆกับสิ่งที่มนุษย์มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น แต่กระนั้นมนุษย์ก็ไม่มีวันหยุดสงสัย การค้นพบและประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคป ในปี 1590 จึงช่วยให้ขอบเขตของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ก้าวไปสู่พื้นที่ใหม่ๆมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น