ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาบทบาทจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ศึกษาบทบาทจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

             จากการศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 
พบว่ากิจกรรมของแบคทีเรียในน้ำทะเล มีบทบาทสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆ ดังนี้
1.แบคทีเรียในน้ำทะเลมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆได้ดี สารอินทรีย์ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์จะถูกย่อยสลายให้เป็นแร่ธาตุต่างๆ ส่วนอีก 40 เปอร์เซ็นต์จะเปลี่ยนเป็นสารประกอบของเซลล์แบคทีเรีย สารอินทรีย์ที่ถูกย่อยสลายได้รวดเร็วได้แก่ กรดอะมิโนและคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ส่วนไขมันและโพลีแซคคาไรด์ที่ซับซ้อนมากๆจะถูกย่อยสลายอย่างช้าๆ
2.แบคทีเรียในน้ำทะเลช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรสารต่างๆในทะเล เช่น วัฏจักรไนโตรเจน,วัฏจักรกำมะถัน เป็นต้น
3.แบคทีเรียหลายชนิดในน้ำทะเลที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ กับสัตว์ทะเล เช่น Vibrio anguillarum ทำให้เกิดโรคกับปลา, Mycobacterium marinum ทำให้เกิดวัณโรคในปลาและติดต่อทำให้เกิดโรคกับมนุษย์ได้ เป็นต้น
หากสนใจกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป เชิญแวะชมและสั่งซื้อได้ทางเว็บไซต์ออนไลน์

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

           จากการศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำทะเล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป พบว่าน้ำทะเลเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุต่างๆ ละลายปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก แร่ธาตุเหล่านี้จะมีปริมาณแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่ไหลลงสู่ทะเล ส่วนการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในทะเล พบว่าจุลินทรีย์ในน้ำทะเลมีจำนวนน้อยกว่าในน้ำจืด เพราะน้ำทะเลแร่ธาตุต่างๆ ที่มีความเข้มข้นสูง จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญได้ จุลินทรีย์ที่เจริญได้ในน้ำทะเล เรียกว่า Halophilic microorganism มีทั้งสาหร่าย โปรโตซัว ฟังไจและแบคทีเรีย สำหรับแบคทีเรียในน้ำทะเลจะมีชนิดและปริมาณแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความเค็ม ความลึก pH สารอาหารในน้ำทะเล เป็นต้น ในน้ำทะเลระดับลึกๆ จะพบแบคทีเรียได้น้อยมาก เนื่องจากบริเวณเหล่านี้ขาดสารอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานของการเจริญ รวมทั้งมีแรงดันมากเกินไป จะมีก็แต่จุลินทรีย์พวก Barophilic microorganism เท่านั้นที่เจริญได้ 

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาบทบาทจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ศึกษาบทบาทจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

            กล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ทำให้เราได้รู้จักกับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  นั้นก็คือ พวกจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในแหล่งน้ำจืด ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ดังนี้
1.การย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ที่ปะปนอยู่ในแหล่งน้ำ เช่น 
-Alginomonas alginovorum, Cytophaga spp. และ Pseudomonas spp. ย่อยสลายเซลลูโลสและเปคตินที่ได้จากการตายของสาหร่ายและพืช
-Chromatium spp. และ Chlorobium spp. เป็นแบคทีเรียมราสังเคราะห์แสงได้ จะใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ละลายอยู่ในน้ำร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์แสงแล้วให้กำมะถันออกมา
2.การเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำที่เกิดจากจุลินทรีย์ เช่น
-Actinomycetes เป็นแบคทีเรียที่ทำให้แหล่งน้ำเกิดกลิ่นแปลกๆ
-สาหร่าย โดยเฉพาะสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ซึ่งจะเจริญอย่างรวดเร็วและขับสารพิษและสารอื่นๆ ออกมา นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำแล้ว ยังทำให้แหล่งน้ำเน่าเสียเกิดสภาพที่เรียกว่า water bloom
3.ทำให้เกิดโรคหรือเป็นปรสิต เพราะน้ำเป็นพาหะสำคัญของโรคต่างๆ หลายชนิดที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ สัตว์และพืช ซึ่งน้ำทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปอย่างรวดเร็ว

วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ศึกษาการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ 

          จากการศึกษาการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป พบว่าจุลินทรีย์ในน้ำจืดจะมีชนิดและปริมาณแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำ สภาพแวดล้อมต่างๆ และสารอาหารที่ละลายปะปนอยู่ในน้ำ เช่น ในน้ำพุที่มีกำมะถันอยู่ด้วย จะพบ Sulphur bacteria,ในน้ำพุที่มีธาตุเหล็กจะพบ Iron bacteria และจะพบพวก Thermophilic bacteria ในน้ำพุร้อน เป็นต้น นอกจากนี้จากการส่องตัวอย่างน้ำด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ยังพบอีกว่า น้ำฝนจากชนบทจะมีจุลินทรีย์ปะปนน้อยกว่าน้ำฝนจากบริเวณที่มีฝุ่นละอองและแหล่งอุตสาหกรรมในแหล่งน้ำจืดต่างๆ จะพบแบคทีเรียและฟังไจ ดังนี้ 
1.แบคทีเรีย ที่พบ เช่น Achromobacter, Actinomycetes, Alcaligenes, Azotobacter, Bacillus, Cytophaga, Flavobacterium, Micrococcus เป็นต้น
2.ฟังไจ ที่พบ เช่น Achlya, Aphanomyes,Chytridium,Olpidium,Polyphagus เป็นต้น
หากสนใจกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป เชิญแวะชมและสั่งซื้อได้ทางเว็บไซต์ออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

ศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป      

              จากการศึกษาจุลินทรีย์ในน้ำจืด ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 
ทำให้เราได้รู้จักกับจุลินทรีย์มากมาย จากแหล่งน้ำจืดมี 4 ชนิด ได้แก่
1.Atmospheric water เป็นน้ำจากเมฆ ตกสู่พื้นโลกในรูปของฝน ลูกเห็บและหิมะ จุลินทรีย์ที่พบจะปะปนมาจากอากาศ ดังนั้นจึงพบจุลินทรีย์จำนวนมากในระยะแรกที่ฝนตก
2.Surface water เป็นน้ำที่ไหลไปตามพื้นดิน จึงละลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ปะปนลงไปทำให้จุลินทรีย์สามารถเจริญได้ดี จุลินทรีย์จะแตกต่างกันไปตามบริเวณที่น้ำไหลผ่าน เช่น ชุมชน แหล่งปศุสัตว์ และโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้แหล่งน้ำมีความแตกต่าง มีผลต่อชนิดและปริมาณของจุลินทรีย์ที่พบ
3.Storage water เป็นน้ำที่ขังอยู่ในแม่น้ำลำคลอง หรือแหล่งอื่นๆ จะทำให้สารอินทรีย์ต่างๆ และจุลินทรีย์ตกตะกอน แสง UV จากดวงอาทิตย์ยังช่วยทำลายจุลินทรีย์ที่บริเวณพื้นผิวน้ำ โปรโตซัวในแหล่งน้ำจะกินแบคทีเรียเป็นอาหาร สิ่งต่างๆดังกล่าวจะช่วยให้ แหล่งน้ำนี้มีปริมาณจุลินทรีย์ลดลง
4.Ground water เป็นน้ำใต้ดินที่เกิดจากการซึมผ่านของน้ำจากบนดินผ่านชั้นหิน ดินเหนียว และทราย จึงสามารถกรองกากตะกอนและจุลินทรีย์ต่างๆไว้ได้ ทำให้ในน้ำใต้ดินลึกๆจึงปราศจากจุลินทรีย์

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จัก cell inclusion ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จัก cell inclusion ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

            cell inclusion ที่สำคัญในเซลล์ฟังไจ ถือเป็นแหล่งอาหารของเซลล์ เป็นอาหารสะสม ได้แก่ ไกลโคเจน และลิปิด อาหารสะสมที่พบมากที่สุดในเซลล์ทั่วไปและเซลล์ของโครงสร้างที่ใช้สืบพันธุ์คือ ไกลโคเจน ส่วนลิปิดจะพบมากในสปอร์ และเป็นสารอาหารที่นำไปใช้เป็นแหล่งพลังงานและแหล่งคาร์บอนในการเจริญได้ดี เมื่อดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป ยังพบอีกว่าโดยทั่วไปแล้วไกลโคเจนและลิปิดจะพบมากในเซลล์ที่เจริญเต็มที่มากกว่าเซลล์ที่มีอายุน้อยๆ ฟังไจบางชนิดในพวก Ascomycetes และ Basidiomycetes จะสะสม mannitol มากกว่าโพลีแซคคาไรด์อื่นๆ และยังพบผลึกของสารต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น crystalline albuminous bodies และ calcium oxalate เป็นต้น นอกจาก cell inclusion แล้วโครงสร้างอื่นๆ ของฟังไจที่ยังไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่ นิวเคลียส, lomasomes เป็นต้น ก็มีความสำคัญและน่าศึกษาต่อไป สำหรับท่านที่กำลังมองหากล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคปเพื่อใช้สำหรับการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ อาจมองหากล้องจุลทรรศน์คุณภาพสูงได้จากบริษัทชั้นนำ

วันเสาร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จัก organelles ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จัก organelles ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป


         พลังของกล้องจุลทรรศน์ช่วยให้เราได้ทำความรู้จักกับ organelles ต่างๆภายในเซลล์อขงฟังไจซึ่งมีดังต่อไปนี้ ไมโตคอนเดรีย เป็น organelles ที่มีรูปร่างและจำนวนแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของฟังไจ ช่วงระยะการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ไมโตคอนเดรียมีหน้าที่ในการสร้างพลังงานในกระบวนการ oxidative phosphorylation เอนโดพลาสมิคเรติคูลัม มีความสำคัญเกี่ยวกับการเจริญในด้านขยายขนาดและความยาวของไฮฟา เนื่องจากการเจริญของไฮฟาต้องการลิปิดและโปรตีนที่สังเคราะห์จากเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระไปใช้ในการสร้างส่วนประกอบอื่นๆ ของเซลล์ ไรโบโซม มีพบทั้งที่ไซโตปลาสซึม และเอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน โดยไรโบโซมในไซโตปลาสซึมจะสังเคราะห์โปรตีนที่นำไปใช้ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ ส่วนไรโบโซมที่เอนโดพลาสมิคเรติคูลัมชนิดขรุขระจะสังเคราะห์โปรตีนเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมภายนอกเซลล์ กอลไจแอพพาราตัส ทำหน้าที่สังเคราะห์สารโมเลกุลใหญ่และสารประกอบเชิงซ้อนให้กับเซลล์ เช่น lipoprotein ในเซลล์ปลายไฮฟาจะมีกอลไจแอพพาราตัสทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์เซลล์เมมเบรน

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จักเซลล์เมมเบรนของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จักเซลล์เมมเบรนของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป


          หากเราส่องดูฟังไจผ่านกล้องไมโครสโคปเราจะเห็นเซลล์เมมเบรน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของฟังไจ ด้วยกำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคปทำให้เมื่อส่องดูจะทำให้เราเห็นว่าเซลล์เมมเบรนประกอบด้วยลิปิดและโปรตีนที่จะจัดเรียงตัวเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของ lipoprotein ซึ่งชนิดและจำนวนของลิปิดและโปรตีนจะแตกต่างกันไป เซลล์เมมเบรนทำหน้าที่ห่อหุ้มโปรโตปลาสซึม และควบคุมการนำสารเข้าสู่ภายในเซลล์ ส่วนในเซลล์ยีสต์จะทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์ผนังเซลล์ด้วย สำหรับปัจจัยที่สำคัญในการทำงานของเซลล์เมมเบรนจะแตกต่างกันไป เช่นใน Saccharomyces cerevisiae ที่นำไปเพาะเลี้ยงในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน จะไม่สามารถสังเคราะห์กรดไขมันไม่อิ่มตัวและ sterol เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของเซลล์เมมเบรนได้ แต่ถ้าหากให้ได้รับออกซิเจนจะสร้างได้ตามเดิม นอกจากนั้นยังพบอีกว่าถ้าหากกรดไขมันและ sterol ที่เซลล์เมมเบรนผิดปกติไปจะมีผลต่อกระบวนการออสโมซิส การถูกทำลายได้ง่ายด้วยอุณหภูมิสูงและการนำสารเข้าสู่เซลล์

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จักผนังเซลล์ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

 รู้จักผนังเซลล์ของฟังไจ ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

การศึกษาฟังไจทางสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่าโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ ก็คือ ผนังเซลล์ ผนังเซลล์ของฟังไจทำหน้าที่เช่นเดียวกับผนังเซลล์ของพืชชั้นสูง โดยจะช่วยทำให้เซลล์คงรูปอยู่ ส่วนประกอบของผนังเซลล์ ส่วนมากประกอบไปด้วยสารพวกไคติน หรือเซลลูโลสกับไคติน แต่ในฟังไจบางชนิดอาจจะมีโปรตีน ลิปิด และสารประกอบอื่นๆ อีกด้วย พวกยีสต์ ซึ่งเป็นพวกเซลล์เดียว ผนังเซลล์จะมีไคตินเพียงเล็กน้อย แต่ส่วนมากจะประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์สองชนิด คือ glucan (ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ของกลูโคส) และ mannan (ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ของแมนโตส ) เป็นจำนวนมากถึงสองในสามของสารประกอบทั้งหมดของผนังเซลล์ ส่วนสารอื่นๆ ได้แก่ heteropolysaccharide,chitosan,amino sugar,lignin, โปรตีนและลิปิดสารประกอบของผนังเซลล์ต่างๆจะเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุการเจริญเติบโตช่วงระยะที่มีการสร้างสปอร์และสภาวะแวดล้อมภายนอก อย่างเช่น ส่วนประกอบของสารอาหารในอาหารเลี้ยงเชื้อ, pH และอุณหภูมิ เป็นต้น

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รู้จักฟังไจ (Fungi) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป

รู้จักฟังไจ (Fungi) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือกล้องไมโครสโคป 

           ในชีวิตประจำวัน เราคงเคยเห็นเห็ดชนิดต่างๆรวมทั้งราขนมปังที่เราคุ้นเคย จากการส่องกล้องจุลทรรศน์หรือกล้องไมโครสโคป เพื่อศึกษาและทำความรู้จักฟังไจ ฟังไจ(Fungi)หรือเรียกว่า เห็ดรา เป็นสิ่งมีชีวิต จัดอยู่ในอาณาจักรฟังไจ(Kingdom Fungi) คือ อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตที่มีนิวเคลียสแบบยูคารีโอต ไม่ใช่พืชและไม่ใช่สัตว์ มีผนังเซลล์คล้ายพืช คือมีองค์ประกอบเป็นเซลลูโลสกับไคติน แต่ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดังนั้นจึงสร้างอาหารเองไม่ได้ สร้างสปอร์ได้ มีการสืบพันธุ์ทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ พบได้ทั้งที่มีโครงสร้างเป็นแบบเซลล์เดียว เช่น ยีสต์หรือหลายเซลล์โดยเซลล์เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกันเป็นเส้นใยที่เจริญเติบโตตามแนวยาวได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด เส้นใยแต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา(hypha) เส้นใยรวมกันเรียกว่า ไมซีเลียม (mycelium)ฟังไจจะดำรงชีวิตแบบปรสิตหรือแบบผู้ย่อยสลาย ได้รับสารอาหารจากการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนให้เป็นโมเลกุลเล็ก จากนั้นจึงดูดซึมเข้าเซลล์ (saprophyte)สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ ได้แก่ เห็ด,รา และยีสต์